วิธีดูตําหนิเหรียญปราบฮ่อ 1239 1247 1249 ของแท้ ดูยังไง?

ก่อนที่จะไปดูตำหนิเหรียญปราบฮ่อ เราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของสงครามฮ่อ กันสักนิด เพื่อจะได้เข้าใจและเห็นถึงคุณค่าของเหรียญปราบฮ่อนี้มากขึ้น...


หนังสือสมเด็จพระปิยมหาราชพระผู้พระราชทานกำเนิดพิพิธภัณฑสถานเพื่อประชา

ฮ่อ หรือ ห้อ คือ กลุ่มชนเชื้อสายจีน ที่ต้องการแยกการปกครองออกจากราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นของชนเผ่าแมนจูในขณะนั้น เพราะเห็นว่าองค์พระจักรพรรดิ์ทรงไร้ซึ่งความสามารถ ประชาชนจำนวนมากถูกกดขี่ข่มแหงโดยชนชั้นขุนนาง จึงริเริ่มก่อร่างสร้างกลุ่มรวมผู้คนที่มีหัวคิดเดียวกัน ตั้งตนขึ้นโดยเรียกตัวเองว่า "ไท่ผิง" โดยมีหัวหน้า "หง ซิ่วเฉวียน" เป็นผู้นำกบฏในครานั้น ทางการกับประชาชนเกิดการต่อสู่กันอย่างหนักหน่วงและรุ่นแรง จนกบฏไท่ผิง พ่ายแพ้ราบคาบ มีผู้คนล้มตายมากมายหลายล้านคน ส่วนพวกที่เหลือก็ล่าถอยหนีไปซ่อนตัวในป่า ตามชุมชนต่างๆในมณฑลของจีนและบางกลุ่มหลบหนีมาซ่องสุมกำลังที่ทุ่งไหหิน ปล้นบ้านล้างเมืองในดินแดนสิบสองจุไทและเมืองพวน(ฝั่งประเทศลาว) ซึ่งเมื่อนั้นยังคงเป็นอาณาเขตของไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงทราบข่าว จึงส่งกำลังไปปราบปรามเสียให้สิ้นถึง 4 ครั้ง 4 ครา จนพวกฮ้อล่าถอยหนีไปทุกครั้ง เมื่อเหตุการณ์สงบเรียบร้อยแล้วทรงให้สร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อขึ้นที่ เมืองหนองคาย เพื่อบรรจุอัฐิทหารจากกรม กองต่างๆ ที่เสียชีพเพื่อชาติในครั้งนั้น


ภาพข่าวในต่างประเทศ  ค.ศ.1893 (พ.ศ.2436)


เหรียญปราบฮ่อ 1239 1247 1249


รวมเหรียญ ร.๕ อันสูงค่ายิ่งและเครื่องขัตติยราชูปโภค
และโปรดเกล้าฯ ให้ บจก.บีกริมแอนด์โก ประเทศเยอรมัน สร้างเหรียญราชอิสริยาภรณ์ปราบฮ่อ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 เพื่อบำเหน็จคุณความดีให้แก่ผู้ที่ไปสงครามปราบฮ่อ จำนวนการผลิตทั้งสิ้น 500 เหรียญ และผลิตเสร็จสิ้นพร้อมส่งมอบให้สยามประเทศในปี พ.ศ. 2437 ใช้ห้อยกับแพรแถบสีดำริมสีเหลือง ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ที่แพรแถบประดับเข็มบอกปีจุลศักราชที่มีการปราบฮ่อ ได้แก่ "๑๒๓๙" (พ.ศ. ๒๔๒๐) "๑๒๔๗" (พ.ศ. ๒๔๒๘) และ "๑๒๔๙" (พ.ศ. ๒๔๓๐) ใช้ประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย เข็มปีจุลศักราชที่ประดับบนแพรแถบจะประดับให้สำหรับผู้ที่ไปราชการสงครามปราบฮ่อในแต่ละคราว
สำหรับเหรียญปราบฮ่อชั้นเดียว ไม่มีการกำหนดอัตราการพระราชทาน หากผู้ใดไปราชการทัพปราบฮ่อ ก็จะได้รับพระราชทานเข็มระบุปีจุลศักราชตามที่ได้เข้าร่วมรบในปีนั้น โดยผู้ที่ได้รับพระราชทานจะไม่ได้รับประกาศนียบัตรกำกับ แต่จะได้รับการประกาศชื่อลงในราชกิจจานุเบกษา 


จุดสังเกตุตำหนิเหรียญปราบฮ่อแท้

ปัจจุบันเหรียญปราบฮ่อ เป็นที่นิยมและหายากยิ่ง เป็นที่ต้องการของนักสะสมทั้งเก่าใหม่ จึงไม่แปลกที่จะมีการทำเหรียญ ร.5 ปราบฮ่อ ปลอมเลียนแบบขึ้นมาใหม่จำนวนมาก นับเป็นเหรียญเงินโบราณปราบเซียนอีกเหรียญหนึ่งก็ว่าได้เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น จึงมีการทำเลียนแบบให้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเหรียญของจริงมากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังคงมีตำหนิหลายจุดที่เป็นจุดตายเหรียญปราบฮ่อที่ยังทำเลียนแบบได้ยากอยู่หลายจุด ไปดูกันเลยว่าตําหนิเหรียญปราบฮ่อ 1239 มีจุดหลักๆอะไรที่ต้องสังเกตุกันบ้าง ตามข้อมูลด้านล่างเลยครับ


ด้านหน้า เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพักตร์เสี้ยว ผินพระพักตร์ไปทางซ้าย มีพวงมาลัยรองรับ เบื้องบนเป็นแถวอักษรตามแนวขอบเหรียญเป็นข้อความ "จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช" 

จุดสังเกตุหลักๆ ด้านหน้าเหรียญปราบฮ่อแท้ มีดังนี้...


จุดที่(1) ใบไม้ตามลูกศรชี้ จะมีเส้นยาวกลางใบ 1 เส้นเหมือนเป็นก้านใบ เป็นสันใบแทบทุกใบ

จุดที่(2) ให้ดูที่หนวด เส้นที่ 2 และ 3 นับจากบนลงล่าง จะเป็นเส้นคู่บาง ๆ ปลายโค้งลงเล็กน้อย (ของเก๊จะติดกันเป็นพรืด)

จุดที่(3) คำว่า "ราช" ด้านล่าง "ร" จะมีตุ่มกลมเล็ก ๆ 1 ตุ่ม ตามลูกศรชี้

จุดที่(4) ที่คอเสื้อตามลูกศรชี้ เมื่อนำกล้องส่องจะเห็นเป็นรูป สามเหลี่ยม ค่อนข้างลึก มีรอยขีดเล็กๆ ขวางแนวนอน 3 ขีด ชัดเจนมาก เป็นอีกจุดที่ปลอมได้ยาก

จุดที่(5) พระกรรณ หรือ หู ติ่งหูช่วงล่างมีลักษณะโค้งมนกลม

จุดที่(6) ปกเสื้อ ลำคอ มีเส้น 2 เส้นขนานกันตลอด เส้นไม่ชนกัน แล้วโค้งหายลงไปด้านหลังคอ

จุดที่(7) ตัวหนังสือของเหรียญจะแกะเป็นแท่งเหลี่ยม อักษร "ฬ" ตามลูกศรชี้ เส้นตั้งจะมีเนื้อเกินเป็นเส้นนูนยาวลงมา (ต้องดูเหรียญไม่สึกจะเห็นได้ชัด) และ ตัวอักษร "ฬ" หางขาด เหนือสระอา "า"

จุดที่(8) ตัวอักษร "ก" เขียนเหมือนอักษร "ท"

จุดที่(9) หัวอักษร "ม" มีลักษณะกลม เห็นได้ชัดเจน

จุดที่(10) สระอา "า" ปลายหักแหลมลงชนกับอักษร "ร"

จุดที่(11) หูเชื่อมแบบขวาง ห่วงเปิดได้ ขอบเหรียญยกสูงตัดเหลี่ยมและมีขอบด้านในอีกหนึ่งชั้นต่ำกว่าขอบเหรียญด้านนอก

ที่มา: SIAMCOIN
ด้านหลัง เป็นรูปพระสยามเทวาธิราชทรงช้างถือพระแสงของ้าว มีควาญอยู่ท้ายช้างคนหนึ่ง รองรับด้วยกลุ่มแพรแถบ เบื้องบนของรูปนั้นมีอักษรตามแนวขอบเหรียญเป็นข้อความ "ปราบฮ่อ ๑๒๓๙ ๑๒๔๗ ๑๒๔๙" 

จุดสังเกตุหลักๆ ด้านหลังเหรียญปราบฮ่อ ดังนี้...


จุดที่(1) ให้ดูตัว "บ" จะมีขีดดวงเล็ก ๆ สั้น ๆ 1 เส้น ลากตรงลงมาจากหัว "บ" และมีติ่งส่วนท้ายขวาล่าง

จุดที่(2) หมายเลข "๑๒๓๙" ให้ดูเลข "๙" ปลายหางจะแตกเป็น 2 แฉก


จุดที่(3) อักษร "ป" จะมีรอยแตกส่วนท้องตามลูกศร

จุดที่(4) อักษร "ร" หัวคว่ำลง ตามลูกศร และหางติดกันกับสระอา "า"

จุดที่(5) ปลายดาบจะมีเส้นรอยบากลึก เหมือนอักษรภาษาอังกฤษ "V" ชัดเจน

จุดที่(6) ปลายตะขอเป็นรอยคล้ายหยักฟันปลา

จุดที่(7) ขาขวาด้านหน้า ตามลูกศรชี้ จะเห็นเป็นเส้นขีด สั้น ๆ ตามแนวนอน เหมือนหนังย่นลงมา 5-6 เส้น

จุดที่(8) ใช้กล้องส่องจะเห็นเส้นลายขนช้างชัดเจน



เหรียญปราฮ่อ Lot No: 3224 เปิดประมูลเริ่มต้นที่ 300,000 บาท ในปี 2565

และสุดท้าย...ท้ายสุดให้นำเหรียญไปชั่งน้ำหนักบนตราชั่งมาตราฐาน จะได้ค่าน้ำหนัก 11.1 กรัม โดยประมาณ อาจคาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อยตามความสึกหลอและสภาพการเก็บรักษาของเหรียญนั้นๆ ซึ่งน้ำหนักเหรียญปราบฮ่อจะอยู่ในช่วงประมาณนี้ 

ที่มา: SIAMCOIN

เหรียญปราบฮ่อ แสดงถึง ความกล้าหาญ อดทน ชัยชนะและความสำเร็จ เพราะเหล่าทหารหาญต่างรบชนะข้าศึกทุกครั้งไป เงินโบราณหวังว่าข้อมูลเหรียญปราบฮ่อบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจทุกท่านไม่มากก็น้อย และคงไว้ซึ่งการศึกษาสืบต่อไป

อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ จังหวัดหนองคาย


LOGIN

เข้าระบบเงินโบราณ

LIBRARY

ห้องสมุดเงินโบราณ

เรื่องเล่าเมืองโบราณ ตอน เมืองอุตรดิตถ์
เงินเจียง แห่งอาณาจักรล้านนา
วิธีดูเหรียญ 1 บาท 2520 รัชกาลที่ 9 พิมพ์ ย.ยักษ์ ยิ้ม
จดหมายจากแหลมมลายู สู่ประวัติศาสตร์สี่รัฐมาลัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัชกาลที่ 8
นักสะสมเงินโบราณ เริ่มต้นอย่างไร? เก็บเหรียญหรือธนบัตรอะไรก่อนดี?
เงินบาทดิจิทัลมาแล้ว เงินกระดาษอาจมีให้เห็นได้เพียงในพิพิธภัณฑ์เงินโบราณ
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2529 ช่อฟ้ายาว-สั้น
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525 พระเศียรเล็ก
เหรียญ 10 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551 มีเรือ
เหรียญสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
เหรียญ 5 บาท รัชกาลที่ 9 ปี พ.ศ. 2546
เงินลาด สมัยอาณาจักรล้านช้าง
หอยเบี้ยจั่น เบี้ยหอยโบราณ กับระบบเงินตราโบราณไทย
ประกับดินเผา สมัยอยุธยาตอนปลาย
เหรียญ ร.6 ช้างสามเศียร ปีไหนหายากสุด ราคาสูงสุด
เหรียญ 10 บาท สองสี รัชกาลที่ 9 กับวัดอรุณราชวราราม
ธนบัตรชนิด 100 บาท แบบ 16
ธนบัตรชนิด 20 บาท แบบ 16 (9 หน้า 9 หลัง)
นาฬิกาแฮนด์เมค คอแลกชั่นเหรียญโบราณ
วิธีดูตำหนิเหรียญชนิด 1 บาท รัชกาลที่ 5 ร.ศ. 127 ของแท้และเทียม (ลูกศรแดงชี้คือของปลอม)
เหรียญ 5 บาท 2540 รัชกาลที่ 9 ผลิตน้อย ราคาสูงจริงหรือ?
ธนบัตรชนิด 20 แบบ 9 (ปลอม)
เหรียญกษาปณ์ชนิด 10 สตางค์ 2500 หางยาว รัชกาลที่ 9
ความรู้เรื่องหมวดบนธนบัตรไทยและหมวดเสริม พ S
10 อันดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก ในรัชกาลที่ 9
การเป็นนักสะสมเงินโบราณที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
วิธีดูเหรียญ 50 สตางค์ 2493 ตัวหนา หรือ ตัวบาง รัชกาลที่ 9
เหรียญ 50 สตางค์ พ.ศ. 2530 รัชกาลที่ 9 หายาก
เหรียญ 10 สตางค์ 2530 เหรียญหายากอันดับที่ 9 รัชกาลที่ 9
ชุดเหรียญกาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9
เหรียญ 5 สตางค์ 2530 รัชกาลที่ 9 อลูมิเนียม ชนิดไม่หมุนเวียน
เหรียญปราบฮ่อ รัชกาลที่ 5
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 50 บาท เนื่องในวันราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
ย้อนดูสยามประเทศ ในปี พ.ศ. 2511
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในงานปีต้นไม้แห่งชาติ ชนิด 10 บาท
เงินอาณาจักรโบราณ ของสยามประเทศ
วิวัฒนาการเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 5 บาท รัชกาลที่ 9
การเก็บรักษาเหรียญกษาปณ์ที่ดีที่สุด
การทดสอบเงินแท้ ด้วยกรดทดสอบเงิน ด้วยตนเอง
ธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 10 บาท เนื่องในวาระครบ 120 ปี กระทรวงการคลัง
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 1,000 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรสครบ 50 ปี
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี แบบต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ (ต่อ)
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 60 บาท เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 80 บาท เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 1 บาท ในรัชกาลที่ 9 จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 2 บาท เนื่องในวาระต่างๆ รัชกาลที่ 9
คุณ คือ นักสะสมเงินโบราณระดับไหน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 5 บาท ในวาระต่างๆ ในรัชกาลที่ 9
การพิจารณาเลือกซื้อธนบัตรแบบยกแหนบ
ข้างหลังภาพ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำอาหาร"
คำทำนายของโหรหลวงในสมัยรัชกาลที่ 1 กับ 12 รัชกาลในเบื้องหน้า
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สองสี 61 วาระ ในรัชกาลที่ 9
ด็อกเตอร์ คาร์ล ดอห์ริง วิศวะกรโครงสร้างชาวเยอรมัน ในรัชกาลที่ 5
รู้หรือไม่...ธนบัตรไทยผลิตมาจากอะไร? แล้วทำไมเราถึงไม่ผลิตขึ้นใช้เอง?
เงินตราโบราณในดินแดนด้ามขวานของไทย
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สีเดียว ทั้งหมด 47 วาระ
ประวัติศาตร์เหรียญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
เงินตราโบราณในสยามประเทศ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 20 บาท ทั้งหมด 61 วาระ
เงินตราสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
กาลครั้งหนึ่งกับบ่อนคาสิโนถูกกฏหมายในประเทศไทย พ.ศ. 2488
เงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศักราช 1893 - 2310)
เงินตราในสมัยธนบุรี (พุทธศักราช 2310 - 2325)
เงินตราในสมัยรัตนโกสินทร์
โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งประเทศไทย
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินถุงแดง คือ อะไร ? สำคัญไฉน ?
วงจรธนบัตรแห่งประเทศไทย
มารู้จักสายออกบัตรธนาคารกันเถอะ
เงินราง เงินฮาง เงินลาด เงินฮ้อย เงินตราในสมัยอาณาจักรล้านช้าง
จุดตำหนิระหว่างเหรียญ 5 บาท ปี 2540 กับปี พ.ศ. 2550
วิธีดูตำหนิเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 10 บาท สองสี ระหว่างปี พ.ศ. 2533 กับ 2537
ธนบัตรหมุนเวียนชนิด 1,000 บาท แบบ 16 ใหม่ เริ่มออกใช้ 21 สิงหาคม 2558
ธนบัตรเลขสวย แบบไหนถึงเรียกว่าสวยและมีอนาคต
รู้หรือไม่? โรงพิมพ์ธนบัตรไม่ได้พิมพ์เฉพาะธนบัตรเท่านั้น ยังพิมพ์อากรแสตมป์ให้กรมสรรพากรอีกด้วย
การจัดเกรดธนบัตรและเกรดเหรียญ เงินโบราณตามสภาพความสวยงาม
เคยสงสัยไม่? ธนบัตรเก่ายกเลิกใช้แล้ว หายไปไหน? เก็บเข้าคลัง? แล้วไงต่อ?
ธนบัตรชำรุดที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 70 บาท เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี
9 อันดับ จำนวนผลิต เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 1 บาท รัชกาลที่ 9
10 ช้างเผือก คู่พระบารมี ประจำรัชกาลที่ 9
มาตราวัดมูลค่าของเงินโบราณไทย
ประวัติศาสตร์โรงกษาปณ์ แห่งประเทศไทย
ประวัติศาสตร์เงินสมัยโบราณของไทยในอดีต
วิธีดูตําหนิเหรียญปราบฮ่อ 1239 1247 1249
รู้หรือยัง "ราคาเงินโบราณ" มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่จากในอดีต
ธนบัตรหมุนเวียนแบบ 17 ธนบัตรชุดแรกในรัชกาลที่ 10
ทราบหรือไม่? เงิน 1 บาทไทยในปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ กี่เบี้ยในเงินโบราณ
เหรียญดอกบัว เมืองไท ๑๑๙๗ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ตามรอย "ตราแผ่นดิน" ตราแผ่นดินของไทยในอดีต
เหรียญ 1 บาท 2517 หายาก จริงหรือไม่? ทำไมถึงราคาสูง?
เหรียญ 5 บาท เรือหงส์ พ.ศ 2529 2530 2531 เหรียญไหนราคาหลักแสน
วิธีดูตำหนิเหรียญ 25 สตางค์ 2500 แบบหนา แบบบาง
วิธีดูตำหนิเหรียญ 1 บาท 2520 ภู่สั้น ภู่ยาว

ABOUT

เกี่ยวกับเงินโบราณ

เริ่มต้นจากผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลเงินตราโบราณไทย ทยอยสรรหาเก็บสะสมเงินตราไทยจากยุคใหม่ลึกลงไปเรื่อยๆสู่เครื่องเทียบเงินตราไทยยุคเก่า เพื่อไม่ให้องค์ความรู้นี้สูญหายและคงอยู่ต่อไปในภายภาคหน้า จึงกำเนิดเว็บบล๊อกนี้ขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหรียญ ธนบัตร เงินพดด้วง เครื่องเทียบเงินตราโบราณไทย ไว้สำหรับนักสะสมและผู้ที่สนใจเงินโบราณไทยโดยเฉพาะ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สอบถามองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เสมือนหนึ่งสื่อกลางระหว่างเพื่อนนักสะสมเงินโบราณที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นนักสะสมรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ให้ได้พบปะเจอกัน และขอร่วมส่งต่อสืบทอดองค์ความรู้ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยนี้ สู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป ...

ติดต่อเงินโบราณ

CONTACT

ติดต่อเงินโบราณ


RSS Feeds

LANGUAGE

Copyright © เงินโบราณ All Rights Reserved. Designed by เว็บผึ้งงาน Powered by Google

สถิติเยี่ยมชมเงินโบราณ

เงินโบราณ Version 2.5