นักสะสมเงินโบราณ เริ่มต้นอย่างไร? เก็บเหรียญหรือธนบัตรอะไรก่อนดี?

 



นักสะสมเงินโบราณ ก็เหมือนเช่นดังนักสะสมนาฬิกา นักสะสมแสตมป์ นักสะสมของเล่น นักสะสมพระ นักสะสมเสื้อผ้าเก่ายุค 70 80 90 นักสะสมรถเก่า รถคลาสสิค รถเรโทร นั้นละครับ ได้ขึ้นชื่อว่าของสะสมทุกชิ้นย่อมมีคุณค่าและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เสมอ 

 

เรื่องราวของเงินโบราณก็เช่นกันมีเรื่องราวความเป็นมาคู่ขนานกับประวัติศาสตร์ชาติไทยเสมอ ตั้งแต่เงินตราที่ใช้ในสมัย สมัยล้านนา ล้านช้าง สมัยกรุงสุโขทัย กรุงลพบุรี กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงของเงินโบราณไทยมาแล้วหลายรุ่น หลายแบบ เช่นเดียวกับสมัยการปกครองที่มีวิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาเพื่อพัฒนาสิ่งที่ดีกว่านั้นเอง

เงินพดด้วง

 

สำหรับนักสะสมรุ่นใหม่ ที่ต้องการเป็นนักสะสมเงินโบราณไทย หลายท่านยังจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร? เก็บอะไรก่อนหลังดี? ในบทความนี้เงินโบราณจะมาแนะนำทิศทางในการสะสมเงินโบราณของไทย


ก่อนอื่นขอแนะนำให้นักสะสมรุ่นใหม่ทุกท่านเข้าไปอ่านคุณสมบัติของนักสะสมเงินโบราณที่ห้องสมุดเงินโบราณก่อนนะครับ เรื่อง " การเป็นนักสะสมเงินโบราณที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร? " จะได้เข้าใจบริบทตัวเองมากขึ้นว่าอันที่จริงแล้วเราชอบหรือหลงใหลมันจริงๆหรือไม่ แต่หากคำตอบว่า "ใช่" ก็ยินดีต้อนรับเข้าสู่วงการนักสะสมเงินโบราณครับ โดยนักสะสมเงินโบราณทุกท่านต่างเคยผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ประกอบ 5 ระยะด้วยกัน ดังนี้

 

* ฉบับปัจจุบันในหลวงรัชกาลที่ 10 (วันที่เขียนนี้ 04 มกราคม พ.ศ. 2565)

ระยะแรก ให้น้องๆนักสะสมรุ่นใหม่เริ่มต้นด้วยการเก็บสะสมเหรียญและธนบัตรในรัชกาลที่ 10 ให้ครบทุกปี ทุกรุ่น เสียก่อนเพราะใกล้ตัวที่สุด ทั้งชนิดเหรียญและธนบัตรชนิดหมุนเวียน, เหรียญและธนบัตรชนิดที่ระลึก เช่น เหรียญเงิน ราคา 10 บาท, เหรียญ 5 บาท, เหรียญ 2 บาท, เหรียญ 1 บาท, เหรียญ 50 สตางค์, เหรียญ 25 สตางค์, เหรียญทองคำ, เหรียญที่ระลึกในวาระต่างๆ, เหรียญ 20 บาท, ธนบัตรหมุนเวียนและพิเศษรุ่นต่างๆ เป็นต้น (สะสมให้ครบทุกรุ่นและทุกปี) 


ธนบัตรรุ่นแรกรัชกาลที่ 10


ระยะสอง ให้เก็บเหรียญและธนบัตรรัชกาลที่ 10 ที่หายาก ราคาสูง เช่น ธนบัตร เลขตอง เลขเรียง เลขกระจก หมวด พS เป็นต้น (สะสมให้ครบทุกรุ่นหรือมากที่สุดเท่าที่กำลังทรัพย์เราจะไหว) 

 

ตัวอย่างเลขกระจก

 

ระยะสาม ระยะนี้ให้เริ่มเก็บทยอยเก็บสะสมย้อนหลังลึกลงไปในเหรียญและธนบัตรในรัชกาลที่ 9 โดยใช้หลักการเดียวกันกับทั้งสองระยะข้างต้น คือ สะสมให้ครบทุกรุ่น ทุกปี ทั้งที่เป็นแบบหมุนเวียนและที่ระลึก แต่อาจจะมีเหรียญบางรุ่นที่หายากและราคาสูง เช่น เหรียญ 5 บาท 2540, เหรียญ 1 บาท 2525 พระเศียรเล็ก, เหรียญ 25 สตางค์ 2500 แบบบาง, เหรียญ 10 สตางค์ 2530 เป็นต้น ซึ่งเหรียญเหล่านี้อาจจะยกเว้นไว้ก่อนแล้วเก็บรุ่นอื่น ปีอื่นต่อไปให้ครบเสียก่อน เนื่องจากเป็นเหรียญยอดนิยม หายากและราคาสูงเป็นเหรียญที่ติด 10 อันดับเหรียญหายากในรัชกาลที่ 9 จึงมีเฉพาะในกลุ่มนักสะสมเท่านั้นและมีการปลอมแปลงหลอกขายกันมากมายตามตลาดนักสะสม ให้นักสะสมรุ่นใหม่ทุกท่านศึกษาวิธีดูตำหนิเหรียญแท้ให้ดีเสียก่อนซึ่งเว็บเงินโบราณเก็บรวบรวมไว้ให้แล้วลองเข้าไปค้นหาได้ที่ห้องสมุดเงินโบราณที่นี่ได้เลยครับ 

 

วิธีการค้นหาบทความในห้องสมุดเงินโบราณ

 

 

เหรียญ 10 บาท สองสี ที่ระลึก รัชกาลที่ 9 จำนวน 61 วาระ

 

หลังจากเราเก็บเหรียญและธนบัตรในรัชกาลที่ 9 เกือบครบแล้ว (เหลือเฉพาะที่หายากและราคาสูง) ก็ให้เริ่มเก็บเหรียญและธนบัตรในรัชกาลที่ 8, รัชกาลที่ 7, รัชกาลที่ 6, รัชกาลที่ 5, ลงลึกไปเรื่อยๆ ด้วยวิธีการเดียวกันกับการเก็บสะสมตามที่ได้กล่าวมาในระยะข้างต้นนี้

 


ระยะสี่ ทยอยเก็บเหรียญและธนบัตรหายาก ในระยะนี้เป็นช่วงที่อาจต้องใช้เงินมากสักหน่อย แต่ไม่แนะนำให้นำเงินทั้งหมดมาซื้อนะครับ ของสะสม ไม่ใช่ทั้งชีวิต เราควรจะจัดสรรชีวิตให้สมดุล จะได้มีความสุขในหลากหลายมิติ แต่ถ้าเป็นเงินเย็นเหลือๆ อาจได้จากโบนัส รายได้มากขึ้น ธุรกิจกำไรมากขึ้น ถูกหวย เรียงเบอร์ ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลละก็ แบ่งเงินส่วนหนึ่งมาหาจัดเก็บเข้ากรุได้เลยครับ

 

ตัวอย่างเลขตอง 9


ระยะห้า ระยะนี้นักสะสมอาจจะเก็บเงินโบราณมาได้มากโขจนเกือบครบแล้วหรือคิดเป็นอย่างน้อย 70% ในระยะนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับการเก็บสะสมเหรียญและธนบัตรเงินโบราณไทยโดยตรงสักเท่าไหร่ แต่เป็นช่วงที่นักสะสมทุกท่านเข้าใจตัวเองแล้วว่าเป็นผู้หลงใหลในเงินโบราณไทยจริง จึงควรให้เวลาศึกษาประวัติศาสตร์ของเหรียญให้มาก เช่น ประวัติศาสตร์เหรียญปราฮ่อ , ประวัติศาสตร์เงินโบราณของไทยสมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ , ประวัติศาสตร์โรงกษาปณ์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

จากสงครามปราบฮ่อสู่เหรียญปราบฮ่อหายากราคาสูง 

 

โรงกษาปณ์สิทธิการ รัชกาลที่ 4 โรงกษาปณ์แห่งแรกในประเทศไทย

ในระยะนี้พอที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเองแล้วว่าเราเป็นนักสะสมเงินโบราณในระดับใด ซึ่งนักสะสมเงินโบราณจะถูกแบ่งออกทั้งหมดได้ 4 ระดับด้วยกัน คือ ระดับพื้นฐาน ระดับกลาง ระดับสูง และระดับผู้เชี่ยวชาญ หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดเงินโบราณ เรื่อง " คุณ คือ นักสะสมเงินโบราณระดับไหน " ครับ


จากทั้งหมด 5 ระยะตามที่กล่าวมานี้ เปรียบเสมือนเข็มทิศสำหรับการเดินทางของนักสะสมเงินโบราณที่ต่างต้องเคยผ่านมาแล้วทั้งสิ้น หากทำตามนี้ท่านจะกลายเป็นนักสะสมเงินโบราณโดยสมบูรณ์ และเมื่อท่านเป็นนักสะสมเต็มตัวแล้ว อย่าลืมแบ่งปันส่งต่อองค์ความรู้ของท่านให้แก่เพื่อน ญาติ รุ่นน้อง และผู้คนที่สนใจเงินโบราณด้วยนะครับ วงการเงินโบราณของไทย ยังขาดความรู้ ความเข้าใจและยังรอคำชี้แนะจากท่านอีกมากมายเลยทีเดียว




LOGIN

เข้าระบบเงินโบราณ

LIBRARY

ห้องสมุดเงินโบราณ

เรื่องเล่าเมืองโบราณ ตอน เมืองอุตรดิตถ์
เงินเจียง แห่งอาณาจักรล้านนา
วิธีดูเหรียญ 1 บาท 2520 รัชกาลที่ 9 พิมพ์ ย.ยักษ์ ยิ้ม
จดหมายจากแหลมมลายู สู่ประวัติศาสตร์สี่รัฐมาลัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัชกาลที่ 8
นักสะสมเงินโบราณ เริ่มต้นอย่างไร? เก็บเหรียญหรือธนบัตรอะไรก่อนดี?
เงินบาทดิจิทัลมาแล้ว เงินกระดาษอาจมีให้เห็นได้เพียงในพิพิธภัณฑ์เงินโบราณ
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2529 ช่อฟ้ายาว-สั้น
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525 พระเศียรเล็ก
เหรียญ 10 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551 มีเรือ
เหรียญสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
เหรียญ 5 บาท รัชกาลที่ 9 ปี พ.ศ. 2546
เงินลาด สมัยอาณาจักรล้านช้าง
หอยเบี้ยจั่น เบี้ยหอยโบราณ กับระบบเงินตราโบราณไทย
ประกับดินเผา สมัยอยุธยาตอนปลาย
เหรียญ ร.6 ช้างสามเศียร ปีไหนหายากสุด ราคาสูงสุด
เหรียญ 10 บาท สองสี รัชกาลที่ 9 กับวัดอรุณราชวราราม
ธนบัตรชนิด 100 บาท แบบ 16
ธนบัตรชนิด 20 บาท แบบ 16 (9 หน้า 9 หลัง)
นาฬิกาแฮนด์เมค คอแลกชั่นเหรียญโบราณ
วิธีดูตำหนิเหรียญชนิด 1 บาท รัชกาลที่ 5 ร.ศ. 127 ของแท้และเทียม (ลูกศรแดงชี้คือของปลอม)
เหรียญ 5 บาท 2540 รัชกาลที่ 9 ผลิตน้อย ราคาสูงจริงหรือ?
ธนบัตรชนิด 20 แบบ 9 (ปลอม)
เหรียญกษาปณ์ชนิด 10 สตางค์ 2500 หางยาว รัชกาลที่ 9
ความรู้เรื่องหมวดบนธนบัตรไทยและหมวดเสริม พ S
10 อันดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก ในรัชกาลที่ 9
การเป็นนักสะสมเงินโบราณที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
วิธีดูเหรียญ 50 สตางค์ 2493 ตัวหนา หรือ ตัวบาง รัชกาลที่ 9
เหรียญ 50 สตางค์ พ.ศ. 2530 รัชกาลที่ 9 หายาก
เหรียญ 10 สตางค์ 2530 เหรียญหายากอันดับที่ 9 รัชกาลที่ 9
ชุดเหรียญกาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9
เหรียญ 5 สตางค์ 2530 รัชกาลที่ 9 อลูมิเนียม ชนิดไม่หมุนเวียน
เหรียญปราบฮ่อ รัชกาลที่ 5
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 50 บาท เนื่องในวันราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
ย้อนดูสยามประเทศ ในปี พ.ศ. 2511
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในงานปีต้นไม้แห่งชาติ ชนิด 10 บาท
เงินอาณาจักรโบราณ ของสยามประเทศ
วิวัฒนาการเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 5 บาท รัชกาลที่ 9
การเก็บรักษาเหรียญกษาปณ์ที่ดีที่สุด
การทดสอบเงินแท้ ด้วยกรดทดสอบเงิน ด้วยตนเอง
ธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 10 บาท เนื่องในวาระครบ 120 ปี กระทรวงการคลัง
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 1,000 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรสครบ 50 ปี
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี แบบต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ (ต่อ)
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 60 บาท เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 80 บาท เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 1 บาท ในรัชกาลที่ 9 จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 2 บาท เนื่องในวาระต่างๆ รัชกาลที่ 9
คุณ คือ นักสะสมเงินโบราณระดับไหน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 5 บาท ในวาระต่างๆ ในรัชกาลที่ 9
การพิจารณาเลือกซื้อธนบัตรแบบยกแหนบ
ข้างหลังภาพ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำอาหาร"
คำทำนายของโหรหลวงในสมัยรัชกาลที่ 1 กับ 12 รัชกาลในเบื้องหน้า
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สองสี 61 วาระ ในรัชกาลที่ 9
ด็อกเตอร์ คาร์ล ดอห์ริง วิศวะกรโครงสร้างชาวเยอรมัน ในรัชกาลที่ 5
รู้หรือไม่...ธนบัตรไทยผลิตมาจากอะไร? แล้วทำไมเราถึงไม่ผลิตขึ้นใช้เอง?
เงินตราโบราณในดินแดนด้ามขวานของไทย
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สีเดียว ทั้งหมด 47 วาระ
ประวัติศาตร์เหรียญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
เงินตราโบราณในสยามประเทศ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 20 บาท ทั้งหมด 61 วาระ
เงินตราสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
กาลครั้งหนึ่งกับบ่อนคาสิโนถูกกฏหมายในประเทศไทย พ.ศ. 2488
เงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศักราช 1893 - 2310)
เงินตราในสมัยธนบุรี (พุทธศักราช 2310 - 2325)
เงินตราในสมัยรัตนโกสินทร์
โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งประเทศไทย
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินถุงแดง คือ อะไร ? สำคัญไฉน ?
วงจรธนบัตรแห่งประเทศไทย
มารู้จักสายออกบัตรธนาคารกันเถอะ
เงินราง เงินฮาง เงินลาด เงินฮ้อย เงินตราในสมัยอาณาจักรล้านช้าง
จุดตำหนิระหว่างเหรียญ 5 บาท ปี 2540 กับปี พ.ศ. 2550
วิธีดูตำหนิเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 10 บาท สองสี ระหว่างปี พ.ศ. 2533 กับ 2537
ธนบัตรหมุนเวียนชนิด 1,000 บาท แบบ 16 ใหม่ เริ่มออกใช้ 21 สิงหาคม 2558
ธนบัตรเลขสวย แบบไหนถึงเรียกว่าสวยและมีอนาคต
รู้หรือไม่? โรงพิมพ์ธนบัตรไม่ได้พิมพ์เฉพาะธนบัตรเท่านั้น ยังพิมพ์อากรแสตมป์ให้กรมสรรพากรอีกด้วย
การจัดเกรดธนบัตรและเกรดเหรียญ เงินโบราณตามสภาพความสวยงาม
เคยสงสัยไม่? ธนบัตรเก่ายกเลิกใช้แล้ว หายไปไหน? เก็บเข้าคลัง? แล้วไงต่อ?
ธนบัตรชำรุดที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 70 บาท เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี
9 อันดับ จำนวนผลิต เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 1 บาท รัชกาลที่ 9
10 ช้างเผือก คู่พระบารมี ประจำรัชกาลที่ 9
มาตราวัดมูลค่าของเงินโบราณไทย
ประวัติศาสตร์โรงกษาปณ์ แห่งประเทศไทย
ประวัติศาสตร์เงินสมัยโบราณของไทยในอดีต
วิธีดูตําหนิเหรียญปราบฮ่อ 1239 1247 1249
รู้หรือยัง "ราคาเงินโบราณ" มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่จากในอดีต
ธนบัตรหมุนเวียนแบบ 17 ธนบัตรชุดแรกในรัชกาลที่ 10
ทราบหรือไม่? เงิน 1 บาทไทยในปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ กี่เบี้ยในเงินโบราณ
เหรียญดอกบัว เมืองไท ๑๑๙๗ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ตามรอย "ตราแผ่นดิน" ตราแผ่นดินของไทยในอดีต
เหรียญ 1 บาท 2517 หายาก จริงหรือไม่? ทำไมถึงราคาสูง?
เหรียญ 5 บาท เรือหงส์ พ.ศ 2529 2530 2531 เหรียญไหนราคาหลักแสน
วิธีดูตำหนิเหรียญ 25 สตางค์ 2500 แบบหนา แบบบาง
วิธีดูตำหนิเหรียญ 1 บาท 2520 ภู่สั้น ภู่ยาว

ABOUT

เกี่ยวกับเงินโบราณ

เริ่มต้นจากผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลเงินตราโบราณไทย ทยอยสรรหาเก็บสะสมเงินตราไทยจากยุคใหม่ลึกลงไปเรื่อยๆสู่เครื่องเทียบเงินตราไทยยุคเก่า เพื่อไม่ให้องค์ความรู้นี้สูญหายและคงอยู่ต่อไปในภายภาคหน้า จึงกำเนิดเว็บบล๊อกนี้ขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหรียญ ธนบัตร เงินพดด้วง เครื่องเทียบเงินตราโบราณไทย ไว้สำหรับนักสะสมและผู้ที่สนใจเงินโบราณไทยโดยเฉพาะ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สอบถามองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เสมือนหนึ่งสื่อกลางระหว่างเพื่อนนักสะสมเงินโบราณที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นนักสะสมรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ให้ได้พบปะเจอกัน และขอร่วมส่งต่อสืบทอดองค์ความรู้ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยนี้ สู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป ...

ติดต่อเงินโบราณ

CONTACT

ติดต่อเงินโบราณ


RSS Feeds

LANGUAGE

Copyright © เงินโบราณ All Rights Reserved. Designed by เว็บผึ้งงาน Powered by Google

สถิติเยี่ยมชมเงินโบราณ

เงินโบราณ Version 2.5