ประวัติศาสตร์โรงกษาปณ์ โรงกระสาปน์สิทธิการแห่งแรกในประเทศไทย

โรงกษาปณ์แห่งแรก (พ.ศ 2403 – 2418) 

โรงกระสาปน์สิทธิการ สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อตั้งขึ้นเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกของไทย 


โรงกระสาปน์สิทธิการ(สมัยก่อนใช้คำว่า "โรงกระสาปน์" ปัจจุบันใช่คำว่า "โรงกษาปณ์" อย่างนี้) ถือกำเนิดโรงกษาปณ์ผลิตเงินโบราณแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในยุคที่ประเทศไทยกำลัง พัตนาและปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยพร้อม ๆ กับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ และการค้า 


ในปี พ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 4 ทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นและพระราชทานนามว่า  " โรงกระสาปน์สิทธิการ " ซึ่งตั้งยู่บริเวณโรงทำเงิน พดด้วงด้านหน้าพระคลังสมบัติบริเวณมุมถนนใกล้กับทางออกประตูสุวรรณบริบาลด้านทิศตะวันออก ลักษณะเป็นอาคาร  2 ชั้นก่ออิฐเป็นปูนมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีทางขึ้นชั้นสอง อยู่ทางด้านหน้า มีประกาศใช้เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตได้เป็นครั้งแรก เป็นตราพระมหามงกุฎในวงจักรมี 5 ชนิดราคา คือ บาท กึ่งบาท สลึง เฟือง และ กึ่งเฟือง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2403 โดยให้ใช้ควบคู่ไปกับเงินพดด้วง แต่ไม่โปรดเกล้าฯ ให้มีการผลิตพดด้วงเพิ่มขึ้นอีก ครั้นถึงปีพุทธศักราช 2405 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญดีบุก อัฐ  และโสฬสเพิ่มขึ้น และผลิตเหรียญทองแดงซีก และ เสี้ยว เพื่อใช้แทนเบี้ยในปีพุทธศักราช 2409 

ภาพโรงกระสาปน์สิทธิการ สมัยรัชกาลที่ 4

โรงกษาปณ์แห่งที่ 2 (พ.ศ. 2418-2445) 

: โรงกระสาปน์สิทธิการ สมัยรัชกาลที่ 5 

ในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจของไทยมีความเจริญรุ่งเรืองพร้อม ๆกับ การขยายตัวด้านการค้ากับต่างประเทศ การผลิตเหรียญกษาปณ์เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ จึงมีปัญหาผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ประกอบกับเครื่องจักรเดิมเริ่มเก่าและชำรุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้สั่งซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องใหม่ชนิดขับ เคลื่อนด้วยแรงดันไอน้ำ ที่มีกำลังผลิตสูงขึ้นพร้อมทั้งสร้างโรง กระสาปน์สิทธิการขึ้นมาใหม่ให้กว้างขวางกว่าเดิมเพื่อรองรับความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ที่มีจำนวนปริมาณเพิ่มมากขึ้น โรงกระสาปน์สิทธิการซึ่งเป็นโรงกษาปณ์แห่งที่ 2 ของไทยสร้างขึ้นบน บริเวณด้านทิศตะวันตกของประตูสุวรรณบริบาลตรงข้ามกับโรง กษาปณ์เดิม รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกอาคารรูปทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์วัด พระศรีรัตนศาสดาราม) พระราชพิธีสมโภชและเปิดโรงกษาปณ์ขึ้นเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2419 และเปลี่ยนตราเงินใหม่เป็นตราพระบรมรูปตรา แผ่นดินชนิดราคา บาทหนึ่ง สลึงหนึ่ง เฟื้องหนึ่ง ซึ่งเป็นเหรียญกษาปณ์ไทยรุ่นแรกที่มีพระบรมรูปพระมหากษัตริย์บนหน้าเหรียญตาม แบบสากลนิยม อันเป็นรูปแบบหนึ่งที่ถือปฏิบัติต่อมาจวบจนปัจจุบัน 

ภาพโรงกระสาปน์สิทธิการ สมัยรัชกาลที่ 5

โรงกษาปณ์แห่งที่ 3 (พ.ศ. 2445-2515) 

โรงกระสาปน์สิทธิการ ริมคลองหลอด

ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้าของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้ เหรียญกษาปณ์เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เครื่องจักรแรงดันไอน้ำที่มีอยู่เริ่ม ชำรุดเนื่องจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ถึง 25 ปี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างโรง กระสาปน์สิทธิการแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของวังเจ้านาย 6 พระองค์ ซึ่งเรียกสถานที่นี้ว่า " วังสะพานเสี้ยว " ริมคลองหลอดด้าน ถนนเจ้าฟ้าทางทิศเหนือของท้องสนามหลวง โดยมีลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูน สูง 2 ชั้น มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก เมื่อ ย้ายโรงกษาปณ์ไปอยู่สถานที่แห่งใหม่แล้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติคือ"หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า" ในปัจจุบัน พิธีเปิดโรงกษาปณ์แห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการมีขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น " กรมกระสาป์น สิทธิการ " ติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องใหม่ ซึ่งทำงาน ด้วยกำลังไฟฟ้าสามารถผลิตเหรียญได้ประมาณวันละ 80,000 ถึง 100,000 เหรียญ โดยไม่ต้องทำการล่วงเวลา ส่วนเงินพดด้วงได้ โปรดเกล้าฯให้เลิกใช้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2451

เมื่อมีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติมาตราทองคำ รัตนโกสินทร์ศก 127 (พ.ศ. 2451) ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ  ให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 1บาทตราพระบรมรูปตราไอราพต  จากโรงกษาปณ์ปารีส จำนวน 1,036,691เหรียญ  แต่ไม่ทันได้ประกาศใช้ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน  โดยตราไอราพตได้ใช้เป็นตราประจำแผ่นดิน เรื่อยมาจนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โลหะที่ใช้ในการ ผลิตเหรียญกษาปณ์มีราคาสูงขึ้น จึงต้องลดส่วนผสมของโลหะเงินลงและผลิตธนบัตร ราคา 1 บาทออกใช้แทน เหรียญกษาปณ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายต่างๆ หลายประการ เพื่อประคองสภาวะการณ์ทาง เศรษฐกิจของประเทศให้สมดุลกับภาวะเศรษฐกิจโลกและป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกเป็นไปอย่างกว้างขวางและรุนแรงจวบจนสิ้นรัชสมัยของพระองค์และต่อเนื่องไปถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตเงินตราทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยุบฐานะของกรมกระสาปน์สิทธิการ ลงเป็นโรงงานขึ้นกับ กรมฝิ่นหลวง เหรียญที่ใช้ในรัชกาลนี้เป็นชนิดนิกเกิล 5 สตางค์ และชนิดทองแดง 1 สตางค์ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิต และต้องงดผลิตเหรียญกษาปณ์เป็นเวลานานถึง 6 ปี โดยมีเหรียญ เงิน 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูปช้างยืนแท่นเป็นเหรียญประจำรัชกาล

ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงงานกษาปณ์ขึ้นใหม่ เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้เอง เมื่อปีพุทธศักราช 2476 โดยตั้งขึ้นเป็น " แผนกกษาปณ์ " และโอนไปสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น " กองกษาปณ์ " สังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ช่วงเวลานั้นประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2482 รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก อันเนื่องมาจากสินค้ามีราคาสูง ด้วยการนำเหรียญเงิน 2 สลึง ในคลังมา หลอมและผลิตเหรียญเงิน ราคา 20 สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ ขึ้นใช้แทนการสั่งผลิตจากต่างประเทศ ซึ่ง นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำโลหะเงินมาผลิตเป็นเงินปลีก และเมื่อโลหะเงินและทองแดงมีราคาสูงขึ้น จึงได้นำ ดีบุกมาใช้ผลิตแทนเหรียญประจำรัชกาลนี้คือเหรียญดีบุกตราพระครุฑพ่าห์

ภาพโรงกระสาปน์สิทธิการ ริมคลองหลอด

โรงกษาปณ์แห่งที่ 4 (พ.ศ. 2515-2544) 

โรงกษาปณ์ ประดิพัทธ์ 

โรงกษาปณ์แห่งที่ 4 ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 11 ไร่เศษมีบริเวณ กว้างขวางพอที่จะสามารถติดตั้งเครื่องจักรอันทันสมัยได้อีกหลาย เครื่อง โดยสร้างเสร็จและเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2515 สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้ได้ประมาณวันละ 2 ล้านเหรียญหรือ 750 ล้านเหรียญต่อปี ได้มีการปรับเปลี่ยนลวดลายด้านหลังของเหรียญหลายครั้งให้สื่อความ หมายชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น โดยที่ยังคงสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ไว้เช่นเดิมคือด้านหน้าของเหรียญ ทุกชนิด ราคาเป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อความหมายถึงสถาบันพระ มหากษัตริย์ และมีข้อความว่า " ประเทศไทย " เพื่อสื่อความหมายถึงสถาบันชาติและมีรูปโบราณสถานสำคัญทางศาสนาอันเป็น เอกลักษณ์ของชาติ เพื่อสื่อความหมายถึงสถาบันศาสนา เหรียญรูป แบบใหม่นี้มีการผลิตออกใช้หมุนเวียนเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบันโดยเปลี่ยนเลขปีพุทธศักราชบนเหรียญตามปีที่ผลิต

การปรับเปลี่ยนรูปแบบเหรียญกษาปณ์ ครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2529 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายผลิตเหรียญ กษาปณ์ชุดใหม่ทุกชนิดราคาโดยทำการปรับปรุง ขนาด และรูปแบบรวมทั้งกำหนดให้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ หมุนเวียน ชนิดราคา 1 สตางค์ ถึงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ชนิดราคา 10 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรกปัจจุบัน มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคาด้วยกัน ได้แก่เหรียญราคา 10 บาท, 5 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ ในรัชกาลนี้มีการผลิต " เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก " เพื่อเป็นที่ระลึกและบันทึกเหตุการณ์วาระที่สำคัญเสมือนเป็นการ บันทึกประวัติศาสตร์ลงบนหน้าเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2504 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด้จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จนิวัติพระนคร หลังจากเสด็จพระราชดำเนินเยือน สหรัฐอเมริกา อังกฤษและประเทศภาคพื้นยุโรปและได้ทรงนำชื่อเสียงและเกียรติยศมาสู่ประเทศไทย

ส่วนเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดเหรียญขัดเงา ได้ผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2525 ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของโรงกษาปณ์ไทยนอกจากการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ แล้วยังมีการผลิตเหรียญกษาปณ์จากโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับองค์กรต่างประเทศ เช่น การจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกปีเด็กสากล ในปีพุทธศักราช 2525 และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกอนุรักษ์ ธรรมชาติและสัตว์ป่า ในปีพุทธศักราช 2540 เป็นต้น 

ภาพโรงกษาปณ์ ประดิพัทธ์

โรงกษาปณ์ปัจจุบัน (พ.ศ. 2445-ปัจจุบัน) 

โรงกษาปณ์รังสิต


การพัฒนาเทคโนโลยีและความเจริญทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น อย่าง รวดเร็วทำให้มีการติดต่อค้าขายกันทั่วโลก และการหมุนเวียนของเงิน ตรา มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ใน ระบบเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีการ เพิ่ม กำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้เหรียญกษาปณ์ หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยปรับปรุงโรงกษาปณ์ เพื่อติดตั้งเครื่อง จักรที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น และมีเป้าหมายให้สามารถรองรับผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญต่อปีแต่เนื่องจากโรงกษาปณ์ ที่ ริมถนนประดิพัทธตั้งอยู่ในย่านชุมชน มีพื้นที่จำกัดไม่สามารถขยาย โรงงานได้ประกอบกับมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิตก่อให้เกิดผล กระทบแก่ชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงงาน

รัฐบาลมีนโยบายย้ายโรงกษาปณ์ออกไปอยู่นอกเมืองที่มีพื้นที่ กว้างขวางและห่างไกลชุมชน จึงมีมติเห็นชอบให้สร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 ซึ่งสถานที่ก่อสร้างใหม่นี้อยู่ที่บริเวณโรงงาน ทอกระสอบเดิมของกระทรวงการคลัง ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 34 - 35 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ ประมาณ 126 ไร่ 

การย้ายโรงกษาปณ์ออกไปอยู่นอกเมืองที่มีพื้นที่กว้างขวาง เพื่อป้องกันและลดปัญหามลภาวะเป็นพิษจากกระบวนการผลิต และ รองรับกำลังการผลิตที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งติดตั้งเ ครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้สามารถ ผลิตเหรียญกษาปณ์ ได้เพียงพอกับความต้องการใช้ในปัจจุบัน และ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต

ภาพโรงกษาปณ์ รังสิต


LOGIN

เข้าระบบเงินโบราณ

LIBRARY

ห้องสมุดเงินโบราณ

เรื่องเล่าเมืองโบราณ ตอน เมืองอุตรดิตถ์
เงินเจียง แห่งอาณาจักรล้านนา
วิธีดูเหรียญ 1 บาท 2520 รัชกาลที่ 9 พิมพ์ ย.ยักษ์ ยิ้ม
จดหมายจากแหลมมลายู สู่ประวัติศาสตร์สี่รัฐมาลัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัชกาลที่ 8
นักสะสมเงินโบราณ เริ่มต้นอย่างไร? เก็บเหรียญหรือธนบัตรอะไรก่อนดี?
เงินบาทดิจิทัลมาแล้ว เงินกระดาษอาจมีให้เห็นได้เพียงในพิพิธภัณฑ์เงินโบราณ
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2529 ช่อฟ้ายาว-สั้น
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525 พระเศียรเล็ก
เหรียญ 10 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551 มีเรือ
เหรียญสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
เหรียญ 5 บาท รัชกาลที่ 9 ปี พ.ศ. 2546
เงินลาด สมัยอาณาจักรล้านช้าง
หอยเบี้ยจั่น เบี้ยหอยโบราณ กับระบบเงินตราโบราณไทย
ประกับดินเผา สมัยอยุธยาตอนปลาย
เหรียญ ร.6 ช้างสามเศียร ปีไหนหายากสุด ราคาสูงสุด
เหรียญ 10 บาท สองสี รัชกาลที่ 9 กับวัดอรุณราชวราราม
ธนบัตรชนิด 100 บาท แบบ 16
ธนบัตรชนิด 20 บาท แบบ 16 (9 หน้า 9 หลัง)
นาฬิกาแฮนด์เมค คอแลกชั่นเหรียญโบราณ
วิธีดูตำหนิเหรียญชนิด 1 บาท รัชกาลที่ 5 ร.ศ. 127 ของแท้และเทียม (ลูกศรแดงชี้คือของปลอม)
เหรียญ 5 บาท 2540 รัชกาลที่ 9 ผลิตน้อย ราคาสูงจริงหรือ?
ธนบัตรชนิด 20 แบบ 9 (ปลอม)
เหรียญกษาปณ์ชนิด 10 สตางค์ 2500 หางยาว รัชกาลที่ 9
ความรู้เรื่องหมวดบนธนบัตรไทยและหมวดเสริม พ S
10 อันดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก ในรัชกาลที่ 9
การเป็นนักสะสมเงินโบราณที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
วิธีดูเหรียญ 50 สตางค์ 2493 ตัวหนา หรือ ตัวบาง รัชกาลที่ 9
เหรียญ 50 สตางค์ พ.ศ. 2530 รัชกาลที่ 9 หายาก
เหรียญ 10 สตางค์ 2530 เหรียญหายากอันดับที่ 9 รัชกาลที่ 9
ชุดเหรียญกาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9
เหรียญ 5 สตางค์ 2530 รัชกาลที่ 9 อลูมิเนียม ชนิดไม่หมุนเวียน
เหรียญปราบฮ่อ รัชกาลที่ 5
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 50 บาท เนื่องในวันราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
ย้อนดูสยามประเทศ ในปี พ.ศ. 2511
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในงานปีต้นไม้แห่งชาติ ชนิด 10 บาท
เงินอาณาจักรโบราณ ของสยามประเทศ
วิวัฒนาการเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 5 บาท รัชกาลที่ 9
การเก็บรักษาเหรียญกษาปณ์ที่ดีที่สุด
การทดสอบเงินแท้ ด้วยกรดทดสอบเงิน ด้วยตนเอง
ธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 10 บาท เนื่องในวาระครบ 120 ปี กระทรวงการคลัง
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 1,000 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรสครบ 50 ปี
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี แบบต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ (ต่อ)
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 60 บาท เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 80 บาท เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 1 บาท ในรัชกาลที่ 9 จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 2 บาท เนื่องในวาระต่างๆ รัชกาลที่ 9
คุณ คือ นักสะสมเงินโบราณระดับไหน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 5 บาท ในวาระต่างๆ ในรัชกาลที่ 9
การพิจารณาเลือกซื้อธนบัตรแบบยกแหนบ
ข้างหลังภาพ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำอาหาร"
คำทำนายของโหรหลวงในสมัยรัชกาลที่ 1 กับ 12 รัชกาลในเบื้องหน้า
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สองสี 61 วาระ ในรัชกาลที่ 9
ด็อกเตอร์ คาร์ล ดอห์ริง วิศวะกรโครงสร้างชาวเยอรมัน ในรัชกาลที่ 5
รู้หรือไม่...ธนบัตรไทยผลิตมาจากอะไร? แล้วทำไมเราถึงไม่ผลิตขึ้นใช้เอง?
เงินตราโบราณในดินแดนด้ามขวานของไทย
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สีเดียว ทั้งหมด 47 วาระ
ประวัติศาตร์เหรียญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
เงินตราโบราณในสยามประเทศ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 20 บาท ทั้งหมด 61 วาระ
เงินตราสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
กาลครั้งหนึ่งกับบ่อนคาสิโนถูกกฏหมายในประเทศไทย พ.ศ. 2488
เงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศักราช 1893 - 2310)
เงินตราในสมัยธนบุรี (พุทธศักราช 2310 - 2325)
เงินตราในสมัยรัตนโกสินทร์
โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งประเทศไทย
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินถุงแดง คือ อะไร ? สำคัญไฉน ?
วงจรธนบัตรแห่งประเทศไทย
มารู้จักสายออกบัตรธนาคารกันเถอะ
เงินราง เงินฮาง เงินลาด เงินฮ้อย เงินตราในสมัยอาณาจักรล้านช้าง
จุดตำหนิระหว่างเหรียญ 5 บาท ปี 2540 กับปี พ.ศ. 2550
วิธีดูตำหนิเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 10 บาท สองสี ระหว่างปี พ.ศ. 2533 กับ 2537
ธนบัตรหมุนเวียนชนิด 1,000 บาท แบบ 16 ใหม่ เริ่มออกใช้ 21 สิงหาคม 2558
ธนบัตรเลขสวย แบบไหนถึงเรียกว่าสวยและมีอนาคต
รู้หรือไม่? โรงพิมพ์ธนบัตรไม่ได้พิมพ์เฉพาะธนบัตรเท่านั้น ยังพิมพ์อากรแสตมป์ให้กรมสรรพากรอีกด้วย
การจัดเกรดธนบัตรและเกรดเหรียญ เงินโบราณตามสภาพความสวยงาม
เคยสงสัยไม่? ธนบัตรเก่ายกเลิกใช้แล้ว หายไปไหน? เก็บเข้าคลัง? แล้วไงต่อ?
ธนบัตรชำรุดที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 70 บาท เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี
9 อันดับ จำนวนผลิต เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 1 บาท รัชกาลที่ 9
10 ช้างเผือก คู่พระบารมี ประจำรัชกาลที่ 9
มาตราวัดมูลค่าของเงินโบราณไทย
ประวัติศาสตร์โรงกษาปณ์ แห่งประเทศไทย
ประวัติศาสตร์เงินสมัยโบราณของไทยในอดีต
วิธีดูตําหนิเหรียญปราบฮ่อ 1239 1247 1249
รู้หรือยัง "ราคาเงินโบราณ" มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่จากในอดีต
ธนบัตรหมุนเวียนแบบ 17 ธนบัตรชุดแรกในรัชกาลที่ 10
ทราบหรือไม่? เงิน 1 บาทไทยในปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ กี่เบี้ยในเงินโบราณ
เหรียญดอกบัว เมืองไท ๑๑๙๗ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ตามรอย "ตราแผ่นดิน" ตราแผ่นดินของไทยในอดีต
เหรียญ 1 บาท 2517 หายาก จริงหรือไม่? ทำไมถึงราคาสูง?
เหรียญ 5 บาท เรือหงส์ พ.ศ 2529 2530 2531 เหรียญไหนราคาหลักแสน
วิธีดูตำหนิเหรียญ 25 สตางค์ 2500 แบบหนา แบบบาง
วิธีดูตำหนิเหรียญ 1 บาท 2520 ภู่สั้น ภู่ยาว

ABOUT

เกี่ยวกับเงินโบราณ

เริ่มต้นจากผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลเงินตราโบราณไทย ทยอยสรรหาเก็บสะสมเงินตราไทยจากยุคใหม่ลึกลงไปเรื่อยๆสู่เครื่องเทียบเงินตราไทยยุคเก่า เพื่อไม่ให้องค์ความรู้นี้สูญหายและคงอยู่ต่อไปในภายภาคหน้า จึงกำเนิดเว็บบล๊อกนี้ขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหรียญ ธนบัตร เงินพดด้วง เครื่องเทียบเงินตราโบราณไทย ไว้สำหรับนักสะสมและผู้ที่สนใจเงินโบราณไทยโดยเฉพาะ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สอบถามองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เสมือนหนึ่งสื่อกลางระหว่างเพื่อนนักสะสมเงินโบราณที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นนักสะสมรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ให้ได้พบปะเจอกัน และขอร่วมส่งต่อสืบทอดองค์ความรู้ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยนี้ สู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป ...

ติดต่อเงินโบราณ

CONTACT

ติดต่อเงินโบราณ


RSS Feeds

LANGUAGE

Copyright © เงินโบราณ All Rights Reserved. Designed by เว็บผึ้งงาน Powered by Google

สถิติเยี่ยมชมเงินโบราณ

เงินโบราณ Version 2.5