ตามรอย "ตราแผ่นดิน" ตราแผ่นดินของไทยในอดีต



ครานี้...เงินโบราณ จะนำพาทุกท่านตามรอย "ตราแผ่นดิน" ของสยามประเทศ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? รูปภาพที่ประทับบนตราแผ่นดินมีอะไรบ้างและมีความหมายว่าอย่างไร? เราจะได้เรียนรู้ร่วมในบทความนี้...



ตราแผ่นดินของไทย อีกหนึ่งในสัญลักษณ์ที่นักสะสมเงินโบราณทุกท่านต่างคุ้นเคยและพบเห็นกันบ่อยครั้ง เพราะได้ประทับอยู่บนเหรียญพิมพ์นิยม ที่หายาก ราคาสูง อยู่หลายเหรียญ ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ 25 สตางค์ 2500 แบบบาง หรือ เหรียญ 50 สตางค์ 2493 แบบหนา และอีกหลายเหรียญด้วยกัน...

ท่านทราบหรือไม่? ว่า...ตราแผ่นดินของไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? เกิดขึ้นในสมัยใด? ใครเป็นคนออกแบบ? ลักษณะเป็นอย่างไร?

เรามาย้อนรอยประวัติศาสตร์ไปพร้อมๆกันนะครับ...


เหรียญที่มีตราแผ่นดินประทับ

ย้อนไปครั้งก่อนที่มีการใช้ตราแผ่นดินนั้น ประเทศไทยยังไม่การกำหนดใช้เครื่องหมายตราแผ่นดินที่ชัดเจนนัก จะเห็นได้ว่ามีเพียงตราประจำรัชกาลที่ปรากฏบนเงินพดด้วงที่เปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละรัชกาลเท่านั้น 

เมื่อครั้นการค้าและติดต่อกับต่างประเทศรุ่งเรืองมากขึ้น ในสายตาของต่างชาติมองเราเป็นเพียงแค่อาณาจักรช้างเผือก เพื่อสื่อความหมายของสยามประเทศที่ยังไม่มีเครื่องหมายตราประเทศชัดเจนนัก ก็ได้แต่จดจำกันตามนั้นตลอดมา 

นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า "ครุฑพ่าห์" ที่มีลักษณะเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑนั้น ได้เริ่มใช้เป็นเครื่องหมายแทนตราแผ่นดินตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนำแบบอย่างมาจากการใช้ตราสัญลักษณ์ประเทศจีนนั่นเอง


ตราพระครุฑพ่าห์

ต่อมา...ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ออกแบบตราประจำสยามประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก ในปีพ.ศ. 2416 โดยหลักการออกแบบนั้นได้อ้างอิงหลักการออกแบบมาจากทางทวีปยุโรป ที่เรียกกันว่า Heraldry 

เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ตราแผ่นดินหรือตราอาร์ม" 

โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้...


ลักษณะตราแผ่นดินของสยาม

ส่วนของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 อันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  
ที่แทรกอยู่ในตราแผ่นดิน ดังนี้
- ส่วนตรงกลางภาพส่วนบนสุด เป็นภาพพระมหาพิชัยมงกุฎ อันหมายถึงเครื่องทรงพระมหากษัตริย์
- ส่วนบนมุมซ้ายด้านบนของโล่ เป็นส่วนหนึ่งของ "พระแสงขรรค์ชัยศรี "อันหมายถึงสติปัญญาในการปกครองบ้านเมือง และ "พระแส้หางจามรี " อันเป็นเครื่องใช้ประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์
- ส่วนบนมุมขวาด้านบนของโล่ เป็นส่วนหนึ่งของ "ธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์" เป็นไม้เท้าของพระมหากษัตริย์นั้น เดิมเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ เนื่องจากทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทอง หัวและส้นเป็นเหล็ก คร่ำลายทอง ใช้ในพระราชพิธีฉัตรมงคล และ "พัดวาลวิชนี" พระแส้หางจามรีมีที่มาจากคำว่า "จามร" ซึ่งเป็นแส้ทำด้วยขนหางจามรี ส่วนวาลวิชนี เดิมนั้นคือพัดใบตาล
- ส่วนฉลองพระบาทเชิงงอน แยกอยู่ริมฐานฉัตรด้านละ 1 ข้าง อันหมายถึง รองเท้าของพระมหากษัตริย์ ที่ทำมาจากเกือกแก้ว ซึ่งหมายถึง ผืนแผ่นดินอันเป็นที่รองรับของเขาพระสุเมรุ และเป็นที่อยู่อาศัยของ อาณาประชาราษฎร์
- ส่วนเบื้องหลังตราแผ่นดิน มีลักษณะเป็นจีบคล้ายผ้าม่าน คือ ฉลองพระองค์ครุยทอง

ส่วนบนสุดตรงกลาง คือ ภาพพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี หมายถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎเป็นภาพจักรและตรีไขว้ เรียกว่า ตรามหาจักรี อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนนามราชวงศ์จักรี ความหมายโดยรวมจึงแปลว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี

ส่วนด้านซ้ายและขวาของพระมหาพิชัยมงกฎ เป็นรูปฉัตร 7 ชั้น อันเป็นเครื่องหมายแห่งราชาธิปไตย ที่เป็นฉัตร 7 ชั้น ก็เพราะว่าเป็นฉัตรสำหรับใช้ประกอบกับนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น) ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอิสริยศของพระมหากษัตริย์ การใช้รูปดังกล่าวจึงเป็นการประกาศให้รู้ว่า ดินแดนสยามอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสยามินทราธิราช

ส่วนใต้ลงมาเป็นรูปโล่ หมายถึงขอบขัณฑสีมาทั้งหมดของประเทศสยาม โดยแบ่งออกเป็น 3 ห้อง คือส่วนบนแบ่งเป็น 1 ห้องและส่วนล่าง 2 ห้อง มีความหมาย ดังนี้
- ห้องด้านบน เป็นภาพช้าง 3 เศียร หมายถึง สยามเหนือ, สยามกลาง และสยามใต้ พื้นโล่เป็นสีเหลือง
- ห้องล่างด้านขวา เป็นภาพช้างเผือก หมายถึงประเทศราชลาวล้านช้าง (กรุงศรีสัตนาคนหุต) พื้นโล่เป็นสีแดง
- ห้องล่างด้านซ้าย เป็นภาพกริชคดและกริชตรงไขว้กัน หมายถึง หัวเมืองประเทศราชมลายู พื้นโล่เป็นสีชมพู

ส่วนคชสีห์และราชสีห์ประคองฉัตรฉัตร ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ
- ด้านขวา เป็นภาพคชสีห์ประคองฉัตร "คชสีห์" หมายถึง ข้าราชการฝ่ายกลาโหม ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายทหาร 
- ด้านซ้าย เป็นภาพราชสีห์ประคองฉัตร "ราชสีห์" หมายถึง ข้าราชการฝ่ายมหาดไทย ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายพลเรือน 
จึงหมายความได้ถึงความมั่นคง ซึ่งทั้งสองฝ่ายนี้มีหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาจักรและค้ำจุนพระราชบัลลังก์นั้นเอง

ส่วนขอบโล่ด้านล่างสุด อันล้อมรอบด้วยพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ หมายถึง พระพุทธศาสนา มีที่มาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดนี้ด้วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่กระทำคุณงามความดีต่อชาติอย่างใหญ่หลวง โดยเงื่อนไขสำคัญในการพระราชทานนั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า จะพระราชทานให้แก่บุคคลที่เป็นพุทธมามกะเท่านั้น

ส่วนใต้พระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ คือ สายสร้อยจุลจอมเกล้าพร้อมดวงตรา หมายถึงการบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ อันเป็นภาษิตของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน และพระบรมราชวงศ์ และบุตรทายาทของผู้ปฏิบัติราชการ โดยพระราชทานสืบสกุลลงไปจนสิ้นสายบุตรชายเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล และเพื่อให้ผู้สืบสกุลกระทำความชอบต่อแผ่นดิน และสามัคคีกันรับใช้ชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

ส่วนล่างสุดของตราแผ่นดิน คือ คาถาภาษาบาลี จารึกบนแพรแถบด้วยอักษรไทย เป็นข้อความว่า "สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา" แปลว่า "ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ" คาถาบทนี้เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งได้ใช้เป็นข้อเตือนใจประจำโรงเรียนเตรียมทหารในเวลาต่อมาอีกด้วย

องค์พระราชลัญจกรตราแผ่นดินเป็นตรากลม

องค์พระราชลัญจกรตราแผ่นดินนั้นเป็นตรากลม มีอักษรตามขอบพระราชลัญจกรจารึกไว้ว่า "สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม"

จนกระทั้งถูกยกเลิกใช้ไปในพ.ศ. 2436 เป็นต้นมา โดยกลับมาใช้ "ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์" เป็นตราแผ่นดินเต็มรูปแบบแทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดใน พ.ศ. 2453 โดยสันนิษฐานว่าการเปลี่ยนแปลงตราแผ่นดินน่าจะมีมูลเหตุหลักๆมาจากการสูญเสียประเทศราช ทั้งฝั่งลาว เขมร พม่า (บางส่วน) และมลายูในรัชสมัยของพระองค์ จึงต้องเปลี่ยนแปลงตราเพื่อให้เหมาะกับกาลสมัย

อย่างไรก็ตาม...ตราอาร์มหรือตราแผ่นดิน แบบเก่าในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ยังคงใช้ในหน่วยงานต่างๆ ที่มีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับช่วงระยะดังกล่าวจวบจนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งใช้ตราอาร์มเป็นตราหน้าหมวกซึ่งเริ่มมีการจัดระบบตำรวจอย่างจริงจังในสมัยนั้น หรือกรมป่าไม้  หรือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ใช้ตราอาร์มเป็นตราประจำหน่วยงานของตนเอง ด้วยเหตุผลที่ว่าหน่วยงานนั้นก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง เป็นต้น

ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ในปัจจุบัน


การใช้ ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ นี้ก็ใช้เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์หรือกำกับนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งลงนามแทนในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ 

นอกจากนี้ก็ยังใช้เป็นตราประจำสถานที่ราชการต่างๆ ของรัฐบาลไทย ใช้พิมพ์เป็นตราบนหัวหนังสือและเอกสารต่างๆ ของทางราชการ และใช้เป็นตราสำหรับประทับในหนังสือราชการของกรมกองต่าง ๆ

อนึ่ง...บริษัทห้างร้านใดที่จดทะเบียนโดยชอบตามกฎหมายและติดต่อค้าขายกับทางราชสำนัก โดนปรากฏว่ามีฐานะทางการเงินดี เป็นที่เชื่อถือแก่มหาชน ไม่มีหนี้สินรุงรัง นอกจากหนี้สินปกติจากการค้าขาย และจะต้องประกอบการค้าโดยสุจริต อาจได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราพระครุฑพ่าห์เป็นตราตั้งห้างไว้ที่ห้างร้านของตนได้ โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ในสิทธิที่จะเรียกคืนตราดังกล่าวได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก: กรมประชาสัมพันธ์

ในการตามรอยครั้งนี้ เงินโบราณ เชื่อว่าคงได้เติมเต็มความรู้เกี่ยวกับ ตราแผ่นดินไทย และทำให้หลายท่านรู้จักตราแผ่นดินไทยมากขึ้นไม่มากก็น้อย อย่าลืมว่าประวัติศาสตร์ไทยคือรากเง้าของเราในปัจจุบัน จงช่วยกันอนุรักษ์และสานต่อความเป็นไทยนั้นสืบไป เงินโบราณ เป็นแค่เพียงกลุ่มเล็กๆที่หลงใหลในเงินตราไทยในอดีต จึงชอบที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องเงินโบราณทุกยุคสมัยและร่วมแบ่งปันกันเท่าที่จะทำได้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านนะครับ

LOGIN

เข้าระบบเงินโบราณ

LIBRARY

ห้องสมุดเงินโบราณ

เรื่องเล่าเมืองโบราณ ตอน เมืองอุตรดิตถ์
เงินเจียง แห่งอาณาจักรล้านนา
วิธีดูเหรียญ 1 บาท 2520 รัชกาลที่ 9 พิมพ์ ย.ยักษ์ ยิ้ม
จดหมายจากแหลมมลายู สู่ประวัติศาสตร์สี่รัฐมาลัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัชกาลที่ 8
นักสะสมเงินโบราณ เริ่มต้นอย่างไร? เก็บเหรียญหรือธนบัตรอะไรก่อนดี?
เงินบาทดิจิทัลมาแล้ว เงินกระดาษอาจมีให้เห็นได้เพียงในพิพิธภัณฑ์เงินโบราณ
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2529 ช่อฟ้ายาว-สั้น
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525 พระเศียรเล็ก
เหรียญ 10 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551 มีเรือ
เหรียญสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
เหรียญ 5 บาท รัชกาลที่ 9 ปี พ.ศ. 2546
เงินลาด สมัยอาณาจักรล้านช้าง
หอยเบี้ยจั่น เบี้ยหอยโบราณ กับระบบเงินตราโบราณไทย
ประกับดินเผา สมัยอยุธยาตอนปลาย
เหรียญ ร.6 ช้างสามเศียร ปีไหนหายากสุด ราคาสูงสุด
เหรียญ 10 บาท สองสี รัชกาลที่ 9 กับวัดอรุณราชวราราม
ธนบัตรชนิด 100 บาท แบบ 16
ธนบัตรชนิด 20 บาท แบบ 16 (9 หน้า 9 หลัง)
นาฬิกาแฮนด์เมค คอแลกชั่นเหรียญโบราณ
วิธีดูตำหนิเหรียญชนิด 1 บาท รัชกาลที่ 5 ร.ศ. 127 ของแท้และเทียม (ลูกศรแดงชี้คือของปลอม)
เหรียญ 5 บาท 2540 รัชกาลที่ 9 ผลิตน้อย ราคาสูงจริงหรือ?
ธนบัตรชนิด 20 แบบ 9 (ปลอม)
เหรียญกษาปณ์ชนิด 10 สตางค์ 2500 หางยาว รัชกาลที่ 9
ความรู้เรื่องหมวดบนธนบัตรไทยและหมวดเสริม พ S
10 อันดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก ในรัชกาลที่ 9
การเป็นนักสะสมเงินโบราณที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
วิธีดูเหรียญ 50 สตางค์ 2493 ตัวหนา หรือ ตัวบาง รัชกาลที่ 9
เหรียญ 50 สตางค์ พ.ศ. 2530 รัชกาลที่ 9 หายาก
เหรียญ 10 สตางค์ 2530 เหรียญหายากอันดับที่ 9 รัชกาลที่ 9
ชุดเหรียญกาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9
เหรียญ 5 สตางค์ 2530 รัชกาลที่ 9 อลูมิเนียม ชนิดไม่หมุนเวียน
เหรียญปราบฮ่อ รัชกาลที่ 5
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 50 บาท เนื่องในวันราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
ย้อนดูสยามประเทศ ในปี พ.ศ. 2511
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในงานปีต้นไม้แห่งชาติ ชนิด 10 บาท
เงินอาณาจักรโบราณ ของสยามประเทศ
วิวัฒนาการเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 5 บาท รัชกาลที่ 9
การเก็บรักษาเหรียญกษาปณ์ที่ดีที่สุด
การทดสอบเงินแท้ ด้วยกรดทดสอบเงิน ด้วยตนเอง
ธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 10 บาท เนื่องในวาระครบ 120 ปี กระทรวงการคลัง
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 1,000 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรสครบ 50 ปี
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี แบบต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ (ต่อ)
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 60 บาท เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 80 บาท เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 1 บาท ในรัชกาลที่ 9 จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 2 บาท เนื่องในวาระต่างๆ รัชกาลที่ 9
คุณ คือ นักสะสมเงินโบราณระดับไหน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 5 บาท ในวาระต่างๆ ในรัชกาลที่ 9
การพิจารณาเลือกซื้อธนบัตรแบบยกแหนบ
ข้างหลังภาพ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำอาหาร"
คำทำนายของโหรหลวงในสมัยรัชกาลที่ 1 กับ 12 รัชกาลในเบื้องหน้า
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สองสี 61 วาระ ในรัชกาลที่ 9
ด็อกเตอร์ คาร์ล ดอห์ริง วิศวะกรโครงสร้างชาวเยอรมัน ในรัชกาลที่ 5
รู้หรือไม่...ธนบัตรไทยผลิตมาจากอะไร? แล้วทำไมเราถึงไม่ผลิตขึ้นใช้เอง?
เงินตราโบราณในดินแดนด้ามขวานของไทย
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สีเดียว ทั้งหมด 47 วาระ
ประวัติศาตร์เหรียญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
เงินตราโบราณในสยามประเทศ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 20 บาท ทั้งหมด 61 วาระ
เงินตราสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
กาลครั้งหนึ่งกับบ่อนคาสิโนถูกกฏหมายในประเทศไทย พ.ศ. 2488
เงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศักราช 1893 - 2310)
เงินตราในสมัยธนบุรี (พุทธศักราช 2310 - 2325)
เงินตราในสมัยรัตนโกสินทร์
โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งประเทศไทย
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินถุงแดง คือ อะไร ? สำคัญไฉน ?
วงจรธนบัตรแห่งประเทศไทย
มารู้จักสายออกบัตรธนาคารกันเถอะ
เงินราง เงินฮาง เงินลาด เงินฮ้อย เงินตราในสมัยอาณาจักรล้านช้าง
จุดตำหนิระหว่างเหรียญ 5 บาท ปี 2540 กับปี พ.ศ. 2550
วิธีดูตำหนิเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 10 บาท สองสี ระหว่างปี พ.ศ. 2533 กับ 2537
ธนบัตรหมุนเวียนชนิด 1,000 บาท แบบ 16 ใหม่ เริ่มออกใช้ 21 สิงหาคม 2558
ธนบัตรเลขสวย แบบไหนถึงเรียกว่าสวยและมีอนาคต
รู้หรือไม่? โรงพิมพ์ธนบัตรไม่ได้พิมพ์เฉพาะธนบัตรเท่านั้น ยังพิมพ์อากรแสตมป์ให้กรมสรรพากรอีกด้วย
การจัดเกรดธนบัตรและเกรดเหรียญ เงินโบราณตามสภาพความสวยงาม
เคยสงสัยไม่? ธนบัตรเก่ายกเลิกใช้แล้ว หายไปไหน? เก็บเข้าคลัง? แล้วไงต่อ?
ธนบัตรชำรุดที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 70 บาท เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี
9 อันดับ จำนวนผลิต เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 1 บาท รัชกาลที่ 9
10 ช้างเผือก คู่พระบารมี ประจำรัชกาลที่ 9
มาตราวัดมูลค่าของเงินโบราณไทย
ประวัติศาสตร์โรงกษาปณ์ แห่งประเทศไทย
ประวัติศาสตร์เงินสมัยโบราณของไทยในอดีต
วิธีดูตําหนิเหรียญปราบฮ่อ 1239 1247 1249
รู้หรือยัง "ราคาเงินโบราณ" มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่จากในอดีต
ธนบัตรหมุนเวียนแบบ 17 ธนบัตรชุดแรกในรัชกาลที่ 10
ทราบหรือไม่? เงิน 1 บาทไทยในปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ กี่เบี้ยในเงินโบราณ
เหรียญดอกบัว เมืองไท ๑๑๙๗ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ตามรอย "ตราแผ่นดิน" ตราแผ่นดินของไทยในอดีต
เหรียญ 1 บาท 2517 หายาก จริงหรือไม่? ทำไมถึงราคาสูง?
เหรียญ 5 บาท เรือหงส์ พ.ศ 2529 2530 2531 เหรียญไหนราคาหลักแสน
วิธีดูตำหนิเหรียญ 25 สตางค์ 2500 แบบหนา แบบบาง
วิธีดูตำหนิเหรียญ 1 บาท 2520 ภู่สั้น ภู่ยาว

ABOUT

เกี่ยวกับเงินโบราณ

เริ่มต้นจากผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลเงินตราโบราณไทย ทยอยสรรหาเก็บสะสมเงินตราไทยจากยุคใหม่ลึกลงไปเรื่อยๆสู่เครื่องเทียบเงินตราไทยยุคเก่า เพื่อไม่ให้องค์ความรู้นี้สูญหายและคงอยู่ต่อไปในภายภาคหน้า จึงกำเนิดเว็บบล๊อกนี้ขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหรียญ ธนบัตร เงินพดด้วง เครื่องเทียบเงินตราโบราณไทย ไว้สำหรับนักสะสมและผู้ที่สนใจเงินโบราณไทยโดยเฉพาะ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สอบถามองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เสมือนหนึ่งสื่อกลางระหว่างเพื่อนนักสะสมเงินโบราณที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นนักสะสมรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ให้ได้พบปะเจอกัน และขอร่วมส่งต่อสืบทอดองค์ความรู้ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยนี้ สู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป ...

ติดต่อเงินโบราณ

CONTACT

ติดต่อเงินโบราณ


RSS Feeds

LANGUAGE

Copyright © เงินโบราณ All Rights Reserved. Designed by เว็บผึ้งงาน Powered by Google

สถิติเยี่ยมชมเงินโบราณ

เงินโบราณ Version 2.5