เงินตราในสมัยสุโขทัย เป็นสกุลเงินพดด้วงที่มีการริเริ่มคิดค้นและผลิตใช้เป็นครั้งแรก มีมูลค่าเท่ากับโลหะเงิน มีรูปร่างเป็นทรงผาย ไม่กลม มีรอยบากขนาดกว้าง มีรูที่ขา มีความเชื่อว่า ชื่อ "พดด้วง" นั้น สันนิฐานว่ามาจาก "ขดด้วง" หรือลักษณะเหมือนตัวอ่อนของด้วงที่งอขดอยู่ในรังไหมนั้นเอง ซึ่งในระยะแรกนั้น เงินพดด้วงมีขนาดและรูปร่างไม่ได้มาตราฐาน เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ผลิตและก็ยังเปิดโอกาสให้กับพ่อค้า ผู้ครองนคร และประชาชนผลิตได้ด้วยเช่นกัน พดด้วงในยุคนี้จึงมีมาตรฐานไม่แน่นอน และทางการได้มีการปรับน้ำหนักให้เป็นมาตราฐานเดียวกันในเวลาต่อมา ชนิดราคาที่ผลิตก็ตั้งแต่ สองไพ เฟื้อง สลึง สองสลึง บาท สองบาท และสี่บาท ส่วนตราที่ประทับบนเงินพดด้วงส่วนใหญ่เป็นรูปสัตว์ ได้แก่ ตราช้าง ตราสังข์ ตราราชสีห์ และตราราชวัตร นอกจากเงินพดด้วงแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมีการใช้เบี้ยเป็นเงินตราเบี้ยอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ เบี้ยโพล้ง เบี้ยแก้ เบี้ยหมู เบี้ยจั่น เบี้ยนาง เบี้ยบัว เบี้ยพองลม และเบี้ยตุ้ม ซึ่งเบี้ยจั่นเป็นเบี้ยที่นิยมใช้กันมากที่สุด
![]() |
หอยเบี้ย เบี้ยหอย เบี้ยจั่น |
เงินพดด้วงปี 1880 ที่ถูกประมูลไปในปี 2013,2018,2019 |
เงินตราในสมัยอยุธยา นั้นยังคงใช้เงินสกุลพดด้วงดังเดิมเดียวกันกับที่เคยใช้ในสมัยสุโขทัย แตกต่างกันที่รูปร่าง ขนาด น้ำหนัก และชนิดของโลหะ เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ตรงปลายขาที่งอจรดกันนั้นไม่แหลมเท่าของเงินพดด้วงสมัยสุโขทัย รอยบากมีขนาดเล็กลง และไม่มีรอยบากในเวลาต่อมา มีรูปร่างได้มาตราฐานและรัฐบาลผูกขาดในการผลิต มาตราเงินที่ผลิตมีหลายชนิด คือ บาท สองสลึง เฟื้อง สองไพและไพ ส่วนเงินปลีกย่อยใช้เบี้ย ตราที่ประทับมีตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลมีหลายรูปแบบ เช่น ตราช้าง ตราบัว ตราพุ่มดอกไม้ ตรากระต่าย ตราพุ่มข้าวบิณฑ์ ตราช่ออุทุมพร ตราราชวัตร ตราพระซ่อมดอกไม้ ตราสมอ ตราหางหงส์ และตราครุฑ มีบางตราที่ยังไม่ทราบว่าเป็น ของรัชกาลใด
สมัยธนบุรี (พุทธศักราช 2310 - 2325)
เงินตราในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงมีการใช้สกุลเงินพดด้วงที่สืบต่อมาจากสมัยอยุธยาอยู่ ร่วมกับเงินพดด้วงที่ผลิตขึ้นใหม่ในสมัยกรุงธนบุรีด้วย มาตราเงินใช้มีลักษณะเช่นเดียวกันกับเงินพดในด้วงสมัยอยุธยาตอนปลายทุกประการ ต่างกันก็แต่ตราประจำรัชกาลเท่านั้น ตราที่ประทับใช้ตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลยังมีข้อถกเถียงกันแต่มีความเห็นว่าที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดมี 2 ตราคือ ตราทวิวุธและตราตรี
สมัยรัตนโกสินทร์
เงินตราในสมัยรัตนโกสินทร์ ยังคงใช้สกุลเงินพดด้วงดั่งเดิม แตกต่างกันตรงที่ตราประจำรัชกาลที่ใช้ประทับลงบนเนื้อโลหะเงินเท่านั้น และรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีเปลี่ยนแปลงรูปแบบเงินตราครั้งใหญ่ของไทย จากเงินพดด้วงที่ใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นเหรียญกลมแบนทรงสากลนิยมเรื่อยมาจวบจนในปัจจุบัน เงินพดด้วงจึงเป็นเงินโบราณที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในอดีตและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการเก็บสะสมและมีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้นทุกวันในวงการนักสะสมจนถึงทุกวันนี้
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) พ.ศ. 2325 - 2342
ในรัชสมัยนี้ ยังคงใช้เงินพดด้วงซึ่งมีลักษณะคล้ายกับของสมัยอยุธยาตอนปลาย ตราที่ประทับ ใช้ตราจักร 8 กลีบเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลเป็นตราบัวผัน (มหาอุณาโลม)
ลักษณะของเงินพดด้วงในรัชกาลนี้คล้ายกับสมัยรัชกาลที่ 1 แต่เปลี่ยนตราประจำแผ่นดินเป็นรูปจักร 6 กลีบ และตราประจำรัชกาลเป็นตราครุฑ ซึ่งมี 2 แบบคือ ครุฑอกสั้นและครุฑอกยาว
เงินพดด้วงในรัชสมัยนี้ ใช้ตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลคือตราปราสาท นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯให้ผลิตพดด้วงที่ระลึกขึ้นหลายตรา ทั้งชนิดที่ทำด้วยทองคำและเงิน ประทับ ตราต่างๆ อาทิ ตราใบมะตูม ตราดอกไม้ ตราหัวลูกศร ตรารวงผึ้ง ตราเฉลว และตราครุฑเสี้ยว ซึ่งโปรด เกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพี่อเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2368
ในช่วงต้นรัชกาล ได้มีการผลิตเงินพดด้วงที่ใช้ตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลเป็นตรา พระมหามงกุฎ นอกจากนั้นยังได้มีการผลิตพดด้วงตราพระเต้าและตราพระมหามงกุฏเถาทำด้วยเงินและ ทองคำเป็นเงินตราที่ระลึก ในช่วงปลายรัชกาล ได้ทรงริเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเงินตราเป็นเหรียญแบน และ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์เป็นครั้งแรก ที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ และพระราชทาน นามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ"
เงินพดด้วงที่ถูกประมูลไปในปี 2013 และ 2018 |
![]() |
ชมรมสะสมเหรียญโบราณ |
เงินตราอาณาจักรล้านนา
อาณาจักรล้านนา สถาปนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 ดำรงอยู่จนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 โดยพญามังราย มีระบบเงินตราเป็นของตนเอง ประกอบด้วยเงินมูลค่าต่ำเรียกว่า "เงินท้อก" และ ส่วนเงินที่มีค่าสูงได้แก่ "เงินผักชีและเงินเจียง" ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการใช้เงินไซซีของจีนในการค้าตามชายแดนอีกด้วย

เงินท้อกวงตีนม้า ทำด้วยโลหะเงินผสม มีลักษณะคล้ายเงินท้อกเชียงใหม่ แต่มีผิวบางมากเป็นพิเศษ ที่ขอบปากล่าง มีตรารูปม้าตอกประทับไว้ โดยที่เป็นเงินที่มีลักษณะคล้ายรอยตีนม้าจึงเรียกกันว่าเงินวงตีนม้า
เงินท้อกปากหมู เป็นเงินท้อกชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะผสมมีลักษณะคล้ายหอยโข่ง มีหลายขนาดและน้ำหนัก ด้านล่างมีเนื้อเงินปิดรูโพรงไว้แต่ปิดไม่หมดยังคงเหลือเนื้อที่เป็นรูโพรงไว้ จึงมี ลักษณะคล้ายปากหมู
เงินท้อกหอยโข่ง รูปร่างคล้ายหอยโข่งทำด้วยโลหะเงินผสม ด้านบนนูนขึ้นสูงมากผิวภายนอกเป็นลายเส้นและย่นเป็นริ้ว มีความบางมาก ส่วนด้านล่างเป็น โพรงกลวงลึกเข้าไปภายในไม่มีขอบปากที่ด้านล่าง มีมูลค่าตามน้ำหนัก
เงินใบไม้ เรียกอีกชื่อว่า "เงินเส้น" ทำด้วยทองสำริด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 28-35 มิลลิเมตร ลักษณะกลมตันแบนเป็นก้นกระทะผิวเรียบ ด้านหน้านูน ส่วนมากมีเส้นเหมือนลายใบไม้ มีมูลค่าต่ำกว่าเงินท้อกชนิดอื่นและจัดว่าเป็นเงินท้อกที่มีมูลค่าต่ำที่สุด
เงินดอกไม้ เรียกอีกชื่อว่า "เงินผักชี" ผลิตจากโลหะเงินผสม แต่มีส่วนผสมของโลหะเงินมากกว่าโลหะชนิดอื่นๆ มีหลายขนาดและน้ำหนักแตกต่างกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 100 ม.ม. มีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกมีลักษณะคล้ายเปลือกหอยและอีกชนิดมีลักษณะแบนเรียบ ด้านหน้ามีลวดลายคล้ายหยดน้ำที่ตกกระจายบนพื้นดูคล้ายดอกไม้หรือผักชี นอกจากใช้ในอาณาจักรล้านนาแล้วยังมีใช้ในประเทศพม่าอีกด้วย
เงินเจียง หรือเรียกอีกชื่อว่า "เงินกำไล" เป็นเงินที่มีมูลค่าที่สูงในอาณาจักรล้านนา รูปร่างเหมือนเกือกม้า 2 อันติดกัน มีรอยบาก 2 รอย ลักษณะคล้ายๆ เกือกม้าสองวงปลายต่อกัน บริเวณที่ต่อกันตอกสิ่วจนคอดกิ่วเกือบขาดออกจากกัน เพื่อให้หักออกได้ง่ายเมื่อต้องการทอนเงิน และใช้สังเกตดูเนื้อในของเงิน ด้านข้างทั้ง 2 ข้างของขาเงินเจียง ตอกตราไว้ด้านละ 3 ดวง เป็นตราบอกน้ำหนัก หรือ มูลค่าตราชื่อเมืองที่ทำขึ้น และตราจักร
เงินไซซี หรือ "เงินมุ่น" มีลักษณะ ขนาด และน้ำหนักต่างกันออกไปตามแหล่งที่ผลิต กล่าวคือ เงินกระทง เงินอานม้า และเงินขนมครก เป็นต้น ผลิตด้วยเนื้อเงินที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก มักจะมีตราอักษรภาษาจีนตอกประทับบน ด้านหน้าและด้านข้าง บอกชื่อเมืองที่ผลิต วัตถุประสงค์ของการใช้เงินนี้ เช่น ภาษีชา ภาษีเกลือ เป็นต้น ด้านล่างมักมีรูพรุน กำหนดมูลค่าโดยน้ำหนักและเนื้อเงิน
![]() |
เงินไซซี |
เงินตราอาณาจักรล้านช้าง
ภายหลังจากที่อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรอยุธยาเรืองอำนาจ ดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ได้รวมตัวกันเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้น โดยได้ตั้งเมืองหลวงและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และมีระบบเงินตราที่ใช้ร่วมกัน คือ เงินฮ้อย เงินลาด และเงินลาดฮ้อย นอกจากนั้นยังมีเงินฮาง และเงินตู้ จากประเทศ อันนัม เข้ามาใช้ตามชายแดนด้วยเช่นกัน
เงินลาดฮ้อย เป็นเงินลาดชนิดหนึ่งที่หล่อขึ้นด้วยทองแดงหรือทองเหลือง มีลักษณะเหมือนเงินฮ้อย แต่ที่หัวและท้ายของเงินลาดฮ้อย จะเรียว เล็กกว่าเงินฮ้อย และไม่มีตราประทับหรือลวดลายใดๆ มีหลายขนาด กำหนดมูลค่าด้วยน้ำหนักของโลหะ เงินลาดฮ้อย เป็นเงินที่มีมูลค่าต่ำสุดในท้องตลาดและประชาชนสามารถหล่อขึ้นมาใช้ได้เอง จึงไม่มีความประณีตมากนัก
เงินโบราณ นั้นมีคุณค่าและเก็บรวบรวมความรู้ทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย แค่เราหยิบเหรียญสักหนึ่งเหรียญขึ้นมาพิจารณาดู และศึกษาอย่างถ่องแท้ จะเห็นถึงความงดงามของเงินตราไทยในอดีต ที่ผ่านร้อน ผ่านหนาว มาหลายร้อยปี จนถึงมือเราในวันนี้ เงินโบราณขอเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสาน ส่งต่อ ความงดงามของประวัติศาสตร์เหล่านี้สืบไป ชั่วลูกหลานเรา