เงินถุงแดง คือ อะไร ? สำคัญไฉน ?


          เงินถุงแดง คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ได้จากการค้าสำเภาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมี พระปรีชาสามารถในด้านการจัดการค้าสำเภา และทรงเก็บสะสมกำไรจากการค้าสำเภา ทั้งสำเภาหลวงและสำเภาส่วนพระองค์ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 ทรงนำมาใส่ "ถุงแดง" แยกเป็นถุง ถุงละ 10 ชั่ง ตีตราปิดปากถุง เก็บไว้ในหีบกำปั่นข้างห้องพระบรรทม เรียกว่า "เงินข้างที่" ซึ่งต่อมามีจำนวนมากเข้าก็เก็บไว้ในห้องข้างๆ ที่บรรทม เงินถุงแดงข้างแท่นบรรทม (เงินถุงแดงข้างพระที่) นั้น จึงเรียกว่า "คลังข้างที่" 


          เรื่องราวเงินถุงแดงเล่ากันต่อมาว่า ภายหลังเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในการนำมา "ไถ่บ้านไถ่เมือง" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กรณีเหตุการณ์ ร.ศ.112 ได้ช่วยรักษาเอกราชของชาติบ้านเมืองไว้ ทำให้สยามประเทศรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
          เหตุการณ์ วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 สมัยรัชกาลที่ 5(พ.ศ.2436) ฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดแก่รัฐบาลสยามมีอยู่ข้อหนึ่งที่สยามต้องจ่ายเงิน 3 ล้านฟรังก์ โดยชำระเป็นเงินเหรียญทันทีเป็นการชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ โดยกำหนดภายใน 48 ชั่วโมง  มิฉะนั้นกองทัพเรือฝรั่งเศสจะปิดอ่าวไทยทันที และสั่งทูตฝรั่งเศสออกจากสยาม โดยสยามอาจตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ ฝรั่งเศสไม่ต้องการให้ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตร หากว่าต้องการเป็น "เงินกริ๋งๆ" คราวนี้ก็ต้องเทถุงกันหมด ทั้งเงินพระคลังและเงินถุงแดงข้างพระที่ ที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดำรัสว่า "เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง" ก็ได้ใช้จริงคราวนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่พอกับเงิน 3 ล้านฟรังก์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนข้าราชการ จึงช่วยกันถวายเงิน ทองและสร้อย เพชรนิลจินดาไปแลกเป็นเงินเหรียญรวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูต้นสนไปยังท่าราชวรดิษฐ์กันตลอดทั้งวันทั้งคืน ออกไปหลายเที่ยว เนื่องจากมีเวลาจำกัดเพียง 48 ชั่วโมง กล่าวกันว่าน้ำหนักของเงินเหรียญที่ใส่รถออกไปหลายเที่ยว ทำให้ถนนเป็นรอยสึกเพราะน้ำหนักของเงินเหรียญจำนวนมากมายมีน้ำหนักถึง 23 ตัน เรื่องราวเกี่ยวกับเงินถุงแดง ที่มีการกล่าวถึงไว้มาก จึงเป็นไปได้ว่า เรื่อง เงินถุงแดง ที่นำมาไถ่บ้านไถ่เมืองนั้นเอง เป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ที่คนไทยควรจดจำ

ขอบคุณ จุลลดา  ภักดีภูมินทร์.  เงินถุงแดงของสมเด็จพระนั่งเกล้า.

LOGIN

เข้าระบบเงินโบราณ

LIBRARY

ห้องสมุดเงินโบราณ

เรื่องเล่าเมืองโบราณ ตอน เมืองอุตรดิตถ์
เงินเจียง แห่งอาณาจักรล้านนา
วิธีดูเหรียญ 1 บาท 2520 รัชกาลที่ 9 พิมพ์ ย.ยักษ์ ยิ้ม
จดหมายจากแหลมมลายู สู่ประวัติศาสตร์สี่รัฐมาลัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัชกาลที่ 8
นักสะสมเงินโบราณ เริ่มต้นอย่างไร? เก็บเหรียญหรือธนบัตรอะไรก่อนดี?
เงินบาทดิจิทัลมาแล้ว เงินกระดาษอาจมีให้เห็นได้เพียงในพิพิธภัณฑ์เงินโบราณ
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2529 ช่อฟ้ายาว-สั้น
เหรียญ 1 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525 พระเศียรเล็ก
เหรียญ 10 บาท รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551 มีเรือ
เหรียญสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
เหรียญ 5 บาท รัชกาลที่ 9 ปี พ.ศ. 2546
เงินลาด สมัยอาณาจักรล้านช้าง
หอยเบี้ยจั่น เบี้ยหอยโบราณ กับระบบเงินตราโบราณไทย
ประกับดินเผา สมัยอยุธยาตอนปลาย
เหรียญ ร.6 ช้างสามเศียร ปีไหนหายากสุด ราคาสูงสุด
เหรียญ 10 บาท สองสี รัชกาลที่ 9 กับวัดอรุณราชวราราม
ธนบัตรชนิด 100 บาท แบบ 16
ธนบัตรชนิด 20 บาท แบบ 16 (9 หน้า 9 หลัง)
นาฬิกาแฮนด์เมค คอแลกชั่นเหรียญโบราณ
วิธีดูตำหนิเหรียญชนิด 1 บาท รัชกาลที่ 5 ร.ศ. 127 ของแท้และเทียม (ลูกศรแดงชี้คือของปลอม)
เหรียญ 5 บาท 2540 รัชกาลที่ 9 ผลิตน้อย ราคาสูงจริงหรือ?
ธนบัตรชนิด 20 แบบ 9 (ปลอม)
เหรียญกษาปณ์ชนิด 10 สตางค์ 2500 หางยาว รัชกาลที่ 9
ความรู้เรื่องหมวดบนธนบัตรไทยและหมวดเสริม พ S
10 อันดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก ในรัชกาลที่ 9
การเป็นนักสะสมเงินโบราณที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
วิธีดูเหรียญ 50 สตางค์ 2493 ตัวหนา หรือ ตัวบาง รัชกาลที่ 9
เหรียญ 50 สตางค์ พ.ศ. 2530 รัชกาลที่ 9 หายาก
เหรียญ 10 สตางค์ 2530 เหรียญหายากอันดับที่ 9 รัชกาลที่ 9
ชุดเหรียญกาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9
เหรียญ 5 สตางค์ 2530 รัชกาลที่ 9 อลูมิเนียม ชนิดไม่หมุนเวียน
เหรียญปราบฮ่อ รัชกาลที่ 5
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 50 บาท เนื่องในวันราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
ย้อนดูสยามประเทศ ในปี พ.ศ. 2511
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในงานปีต้นไม้แห่งชาติ ชนิด 10 บาท
เงินอาณาจักรโบราณ ของสยามประเทศ
วิวัฒนาการเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 5 บาท รัชกาลที่ 9
การเก็บรักษาเหรียญกษาปณ์ที่ดีที่สุด
การทดสอบเงินแท้ ด้วยกรดทดสอบเงิน ด้วยตนเอง
ธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 10 บาท เนื่องในวาระครบ 120 ปี กระทรวงการคลัง
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 1,000 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรสครบ 50 ปี
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี แบบต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ
ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท รัชกาลที่ 9 ในวาระต่างๆ (ต่อ)
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 60 บาท เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ธนบัตรที่ระลึกชนิด 80 บาท เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 1 บาท ในรัชกาลที่ 9 จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 2 บาท เนื่องในวาระต่างๆ รัชกาลที่ 9
คุณ คือ นักสะสมเงินโบราณระดับไหน
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 5 บาท ในวาระต่างๆ ในรัชกาลที่ 9
การพิจารณาเลือกซื้อธนบัตรแบบยกแหนบ
ข้างหลังภาพ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำอาหาร"
คำทำนายของโหรหลวงในสมัยรัชกาลที่ 1 กับ 12 รัชกาลในเบื้องหน้า
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สองสี 61 วาระ ในรัชกาลที่ 9
ด็อกเตอร์ คาร์ล ดอห์ริง วิศวะกรโครงสร้างชาวเยอรมัน ในรัชกาลที่ 5
รู้หรือไม่...ธนบัตรไทยผลิตมาจากอะไร? แล้วทำไมเราถึงไม่ผลิตขึ้นใช้เอง?
เงินตราโบราณในดินแดนด้ามขวานของไทย
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 10 บาท สีเดียว ทั้งหมด 47 วาระ
ประวัติศาตร์เหรียญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
เงินตราโบราณในสยามประเทศ
ชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิด 20 บาท ทั้งหมด 61 วาระ
เงินตราสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
กาลครั้งหนึ่งกับบ่อนคาสิโนถูกกฏหมายในประเทศไทย พ.ศ. 2488
เงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศักราช 1893 - 2310)
เงินตราในสมัยธนบุรี (พุทธศักราช 2310 - 2325)
เงินตราในสมัยรัตนโกสินทร์
โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งประเทศไทย
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินถุงแดง คือ อะไร ? สำคัญไฉน ?
วงจรธนบัตรแห่งประเทศไทย
มารู้จักสายออกบัตรธนาคารกันเถอะ
เงินราง เงินฮาง เงินลาด เงินฮ้อย เงินตราในสมัยอาณาจักรล้านช้าง
จุดตำหนิระหว่างเหรียญ 5 บาท ปี 2540 กับปี พ.ศ. 2550
วิธีดูตำหนิเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด 10 บาท สองสี ระหว่างปี พ.ศ. 2533 กับ 2537
ธนบัตรหมุนเวียนชนิด 1,000 บาท แบบ 16 ใหม่ เริ่มออกใช้ 21 สิงหาคม 2558
ธนบัตรเลขสวย แบบไหนถึงเรียกว่าสวยและมีอนาคต
รู้หรือไม่? โรงพิมพ์ธนบัตรไม่ได้พิมพ์เฉพาะธนบัตรเท่านั้น ยังพิมพ์อากรแสตมป์ให้กรมสรรพากรอีกด้วย
การจัดเกรดธนบัตรและเกรดเหรียญ เงินโบราณตามสภาพความสวยงาม
เคยสงสัยไม่? ธนบัตรเก่ายกเลิกใช้แล้ว หายไปไหน? เก็บเข้าคลัง? แล้วไงต่อ?
ธนบัตรชำรุดที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 70 บาท เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี
9 อันดับ จำนวนผลิต เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 1 บาท รัชกาลที่ 9
10 ช้างเผือก คู่พระบารมี ประจำรัชกาลที่ 9
มาตราวัดมูลค่าของเงินโบราณไทย
ประวัติศาสตร์โรงกษาปณ์ แห่งประเทศไทย
ประวัติศาสตร์เงินสมัยโบราณของไทยในอดีต
วิธีดูตําหนิเหรียญปราบฮ่อ 1239 1247 1249
รู้หรือยัง "ราคาเงินโบราณ" มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่จากในอดีต
ธนบัตรหมุนเวียนแบบ 17 ธนบัตรชุดแรกในรัชกาลที่ 10
ทราบหรือไม่? เงิน 1 บาทไทยในปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ กี่เบี้ยในเงินโบราณ
เหรียญดอกบัว เมืองไท ๑๑๙๗ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ตามรอย "ตราแผ่นดิน" ตราแผ่นดินของไทยในอดีต
เหรียญ 1 บาท 2517 หายาก จริงหรือไม่? ทำไมถึงราคาสูง?
เหรียญ 5 บาท เรือหงส์ พ.ศ 2529 2530 2531 เหรียญไหนราคาหลักแสน
วิธีดูตำหนิเหรียญ 25 สตางค์ 2500 แบบหนา แบบบาง
วิธีดูตำหนิเหรียญ 1 บาท 2520 ภู่สั้น ภู่ยาว

ABOUT

เกี่ยวกับเงินโบราณ

เริ่มต้นจากผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลเงินตราโบราณไทย ทยอยสรรหาเก็บสะสมเงินตราไทยจากยุคใหม่ลึกลงไปเรื่อยๆสู่เครื่องเทียบเงินตราไทยยุคเก่า เพื่อไม่ให้องค์ความรู้นี้สูญหายและคงอยู่ต่อไปในภายภาคหน้า จึงกำเนิดเว็บบล๊อกนี้ขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหรียญ ธนบัตร เงินพดด้วง เครื่องเทียบเงินตราโบราณไทย ไว้สำหรับนักสะสมและผู้ที่สนใจเงินโบราณไทยโดยเฉพาะ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สอบถามองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เสมือนหนึ่งสื่อกลางระหว่างเพื่อนนักสะสมเงินโบราณที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นนักสะสมรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ให้ได้พบปะเจอกัน และขอร่วมส่งต่อสืบทอดองค์ความรู้ประวัติศาสตร์เงินโบราณไทยนี้ สู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป ...

ติดต่อเงินโบราณ

CONTACT

ติดต่อเงินโบราณ


RSS Feeds

LANGUAGE

Copyright © เงินโบราณ All Rights Reserved. Designed by เว็บผึ้งงาน Powered by Google

สถิติเยี่ยมชมเงินโบราณ

เงินโบราณ Version 2.5